Page 271 - kpi17968
P. 271

260




               ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 53 เชื่อว่าการใช้กำลังเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง  แม้แต่
                                                                             53
               การรัฐประหาร พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2557 ก็มีผู้ยกย่องในแง่ที่ไม่มีการเสีย
               เลือดเนื้อ การที่คนทั้งหลายในสังคมไทยให้คุณค่าแก่ “สันติวิธี” มากขึ้นเช่นนี้
               นับว่าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยเกื้อหนุนให้

               เกิดความเคารพในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคตามหลัก
               นิติธรรมมากขึ้น


                     นอกจากนี้ความหมายของ “ชาติ” ในความรู้สึกนึกคิดของคนไทยส่วนใหญ่
               ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวคือ แต่เดิมนับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

               “ชาติไทย” หมายถึงชาติของผู้ที่มี “เชื้อชาติไทย” หรือชาติพันธุ์ไทย และมี
               “ความเป็นไทยทางจิตใจ” อันเกิดจากการยึดมั่นใน “ความเป็นไทย” ด้านต่างๆ
               เช่น การนับถือพุทธศาสนา การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง การรู้สึกซาบซึ้งใน
               ศิลปะไทยที่เต็มไปด้วยความประณีตอ่อนช้อย การมีมารยาทไทยคือ “รู้ที่ต่ำที่สูง”

               การให้ความชื่นชมและเชื่อมั่นใน “การปกครองแบบไทยคือแบบพ่อปกครองลูก”
               และการยอมรับการแบ่งชั้นทางสังคมโดยเห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องดีงาม แต่ใน
               สังคมไทยปัจจุบัน ด้วยอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และรายได้จากการท่องเที่ยว

               ที่ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็น
               “จุดขาย” นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้คนชาติพันธุ์ต่างๆ ใช้ “ทุนวัฒนธรรม”
               ในการผลิตสินค้า ทำให้ความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมใน

               “ชาติไทย” ได้รับการยอมรับมากขึ้น เห็นได้ชัดจากภาพทางโทรทัศน์ที่คนหลากหลาย
               ชาติพันธุ์ในชุดแต่งกายตามประเพณีร่วมกันยืนตรงเคารพธงไตรรงค์ ซึ่งสะท้อนว่า
               “ความเป็นไทย” หรือวัฒนธรรมแห่งชาติได้รับการให้ความหมายใหม่ในเชิงที่เป็น

               “พหุวัฒนธรรม” มิใช่การเน้น “ความเป็นไทยแท้” ดังในอดีตที่ผ่านมา นับเป็น
               ความเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย


                  53   เมื่อให้ประเมินว่าฝ่ายไหนควรรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม
               ความเห็นก็ใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ร้อยละ 40 โทษฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 37 โทษฝ่ายผู้ชุมนุม
               ร้อยละ 4 โทษทั้งสองฝ่าย (อ้างใน ผลสำรวจชี้คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ “เสื้อสี” แต่ “เหลือง-แดง”
               อาจถึง 10 ล้านคน อึ้ง ประชาชนไม่เชื่อใจ “สื่อ”, (28 มีนาคม 2554), (อ้างแล้ว) สะท้อน
               ให้เห็นว่าแม้แต่ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง คนส่วนใหญ่ก็ต้องการให้
               แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276