Page 269 - kpi17968
P. 269
258
กล่าวถึงผลการสำรวจดังกล่าวนี้ว่า คนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดงส่วนใหญ่มีทัศนะ
ในเชิงที่ “เห็นคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยใกล้เคียงกันมาก เช่น สิทธิในการ
แสดงความคิดเห็น สิทธิในการชุมนุม แล้วตรงกันมากที่สุดคือ เรื่องกระจายอำนาจ
การที่ต้องการปกครองตนเอง แล้วต้องการเลือกผู้ว่าฯ ของตัวเอง ทั้งสองสีขึ้นไป
ที่ 92% เป็นการสำรวจที่มีผู้ให้คะแนนสูงสุดคือเรื่องนี้” นอกจากนี้ยังกล่าวถึง
ผลการสำรวจเกี่ยวกับระบบคุณค่าที่แสดงว่าคนไทยมีความพร้อมสำหรับ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น “เช่น การเคารพเสียงส่วนน้อย...
การที่ยินยอมให้คนคิดต่างพูด...อะไรหลายๆ อย่างก็ถือว่าเป็นคุณค่า
ประชาธิปไตยที่ใช้ได้” 50
มีนักวิชาการแสดงความคิดเห็นต่อรายงานการสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่จัดทำโดยมูลนิธิเอเชีย ที่สะท้อนถึงการนิยามความหมาย
ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน แต่ค่านิยมหลักๆ ของทั้งสองฝ่ายไม่แตกต่างกัน
มากนัก รวมทั้งการที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ให้ความสำคัญแก่ระบอบประชาธิปไตย
ดังความว่า
ผลสำรวจ...แสดงให้เห็นว่าค่านิยมหลักๆ ของคนเสื้อเหลือง
เสื้อแดง และไม่สังกัดสีเสื้อนั้น ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ที่
แตกต่าง คือ มุมมองต่อสถานการณ์ทางการเมือง...เช่น ในยุครัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คนเสื้อเหลืองก็มองว่าประเทศไทยปกครองด้วย
ระบอบประชาธิปไตย แต่คนเสื้อแดงเห็นว่าไม่ใช่ ...ยุครัฐบาลสมัคร
สุนทรเวช คนเสื้อแดงก็จะมองว่านั่นคือประชาธิปไตย ขณะที่คนเสื้อเหลือง
ก็จะบอกว่าไม่ใช่... 51
50 เรืองรวี พิชัยกุล, “เศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้นโยบายประชานิยม” ใน แสงสว่าง
กลางอุโมงค์: หลากหลายความคิดวิเคราะห์อนาคตสังคมการเมืองไทย, (อ้างแล้ว), หน้า 114-
115.
51 พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, ผลสำรวจมูลนิธิเอเชีย: เหลือง-แดงมีราว 10 ล้าน
นักวิชาการชี้สองขั้ว ‘ขัดแย้งเทียม’ ต่างค่านิยมตัวบุคคล, (29 มีนาคม 2554), สืบค้นเมื่อ
1 กันยายน 2558, จาก http://www.prachatai.com/journal/2011/03/33772.
การประชุมกลุมยอยที่ 2