Page 265 - kpi17968
P. 265
254
อนึ่ง อิทธิพลของวัฒนธรรมแห่งชาติอันเกิดจากความหมายของ “ความเป็น
ไทย” กระแสหลัก ทำให้ “หลักการพื้นฐานคือการจัดสรรอำนาจที่เป็นธรรม” ยัง
ไม่ได้รับการยอมรับจากคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเพียงพอ เพราะมีการหล่อหลอม
กล่อมเกลาหรือ “การตกแต่งนิสัยใจคอ” ให้คนไทยยอมรับการแบ่งชั้นทางสังคม
และการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจมาเนิ่นนาน โดยที่ชนชั้นกลางซึ่งผ่านการ
ศึกษาในระบบและเข้าถึงสื่อของรัฐมากกว่าคนชนบทจะได้รับอิทธิพลจากแนวคิด
ดังกล่าวนี้มากเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกันนโยบายการพัฒนาประเทศก็ทำให้เกิด
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงขึ้น การแบ่งชั้นทางสังคมจึงเปลี่ยนมาสู่เกณฑ์
ใหม่ๆ มากขึ้น เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ การบริโภคสัญญะของสินค้า และระดับ
การศึกษา ส่งผลให้การแบ่งชั้นทางสังคมยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย คนแต่ละชั้น
ยังคงมีสถานภาพทางอำนาจและสิทธิเสรีภาพไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับ
“หลักนิติธรรม” ที่ถือว่าทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย และจะต้อง
ยึด “หลักการพื้นฐานคือการจัดสรรอำนาจที่เป็นธรรม” อย่างเคร่งครัดด้วย
ั นธรรม า การ ม ไ ย นป บัน ก หน นการ ช หลักนิติธรรม
ในท่ามกลางความขัดแย้งและความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าสังคม
การเมืองไทยมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น รวมทั้ง
ในชนบทที่เกิดการสร้างเครือข่ายที่มีลักษณะเสมอภาคมากขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจใน
การต่อรอง เพราะคนในชนบทได้กลายเป็นผู้ที่มีความสำนึกของผู้ประกอบการ
(entrepreneur) และกลายเป็นชนชั้นกลางระดับล่างที่ต้องการเข้าถึงทรัพยากร
ของรัฐอย่างเสมอภาค แนวโน้มใหม่เช่นนี้ ย่อมทำให้การกระจายอำนาจในการ
42
ตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรและการกำกับตรวจสอบตลอดจนการสร้างอำนาจต่อ
รองให้ประชาชนย่อมจะบรรลุผลได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ความสัมพันธ์แบบ
ลดหลั่นเป็นลำดับชั้นลดน้อยถอยลงหรือมีลักษณะเสมอภาคมากขึ้นแล้ว ยังทำให้
การยอมรับการนำที่เด็ดขาดรวมศูนย์อำนาจลดน้อยลงไปด้วย ทำให้การใช้หลัก
นิติธรรมเป็นไปได้มากขึ้น
42 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, “ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย: บนความ
เคลื่อนไหวสู่ประชาธิปไตย”, (14 มกราคม 2558), สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558, จาก
http://www.prachatai.com/journal/2015/01/57389.
การประชุมกลุมยอยที่ 2