Page 263 - kpi17968
P. 263
252
“ศักดิ์สิทธิ์” ของสถาบันไว้ให้อยู่เหนือการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
และพระราชอำนาจตรงนี้แหละที่จะเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยของ
ปวงชน” 39
กล่าวได้ว่าความแตกต่างของวัฒนธรรมทางความคิดที่ทำให้เกิดการต่อสู้กัน
ในการนิยามความหมายของมโนทัศน์ทางการเมืองสำคัญๆ หรือการต่อสู้ทาง
วาทกรรมซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยที่สื่อประเภทต่างๆ มีอิทธิพล
สูงขึ้น แต่การเสพสื่อมีลักษณะ “เลือกข้าง” เช่นเดียวกับการเลือกข้างทาง
การเมือง ทำให้ความไม่ลงตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองมีอยู่สูง และเป็นอุปสรรค
ประการหนึ่ง ของการนำหลักนิติธรรมมาใช้
4. ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองไทยบางส่วนยังคงมีรากฐานอยู่บน
ความหมายของ “ความเป็นไทยกระแสหลัก” หรือ “วัฒนธรรมแห่งชาติ”
ความหมายจาก “ความเป็นไทย” หรือ “วัฒนธรรมแห่งชาติ” ที่เป็นมรดก
ตกทอดจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้รับการผลิตซ้ำอย่างเข้มข้นตั้งแต่
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา จนมีอิทธิพลสืบมาจนถึงปัจจุบัน เป็นความ
หมายที่ทำให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเดิมจำนวนมากยังคงมีทัศนะว่าการแบ่งคน
ออกเป็นลำดับชั้นที่คนแต่ละชั้นมีสิทธิและเสรีภาพไม่เท่าเทียมกันเป็นเรื่องปรกติ
ธรรมดา ซึ่งส่งผลให้สำนึกในเรื่องความเสมอภาคที่เริ่มเกิดขึ้นในหมู่ผู้มีอำนาจและ
ชนชั้นกลางในสังคมไทยในปัจจุบันยังขาดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
คนส่วนหนึ่งยังมีทัศนะว่าชาวบ้านยังขาดความรู้หรือการศึกษา และมีความเชื่อว่า
ชาวบ้านตกอยู่ในวัฏจักร “จน เครียด กินเหล้า” และ “โง่ จน เจ็บ” อีกทั้งผู้มี
อำนาจและชนชั้นกลางในสังคมไทยยังเห็นว่า “หน้าที่” สำคัญกว่า “สิทธิและ
เสรีภาพ” ผู้มีอำนาจและชนชั้นกลางจึงมิได้ตระหนักว่าตนเองมีหน้าที่ปกป้องสิทธิ
และเสรีภาพของประชาชน และอาจเห็นว่าการที่ประชาชนโดยเฉพาะชาวชนบท
และคนยากไร้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพมิใช่ปัญหาสำคัญ คนจำนวนไม่น้อยยังคง
มีความหวังว่าสังคมไทยจะสามารถรักษา “จิตใจแบบไทย” เอาไว้ เช่น มีผู้อุปถัมภ์
ที่ให้ความเมตตาเอื้ออาทรต่อ “ผู้น้อย” โดย “ผู้น้อย” มอบความกตัญญูกตเวที
39 เรื่องเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2