Page 258 - kpi17968
P. 258

247



                     2. ปัญหาจากสภาวะ “ความก้ำกึ่งกำกวม อิหลักอิเหลื่อทางวัฒนธรรม”



                         ราวทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ได้เกิดสภาวะ “ความก้ำกึ่งกำกวม อิหลักอิเหลื่อ
                   ทางวัฒนธรรม” ขึ้น ดังที่เกษียร เตชะพีระ ได้สรุปไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ว่า
                   ผลงานชุด อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ นั้นได้แสดงให้เห็น

                   สภาวะดังกล่าวนี้อย่างชัดเจน ดังความต่อไปนี้

                            ...เป็นความก้ำกึ่งกำกวม อิหลักอิเหลื่อ หัวมังกุท้ายมังกร แยกแย้ง

                       กันในตัวเองทางวัฒนธรรม ระหว่าง “ความทันสมัยหรือ modernity” กับ
                       “ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่เดิมมาหรือ tradition ของสังคมไทย”

                            “ความทันสมัย”...หลักๆ ได้แก่เหล่าโครงสร้าง กลไก สถาบัน
                       สมัยใหม่ ที่สังคมไทยรับมาจากตะวันตก...และเศรษฐกิจทุนนิยม-

                       วัตถุนิยม-บริโภคนิยม...

                            ส่วน “ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่เดิมมา”...ที่สำคัญได้แก่
                       วัฒนธรรม ค่านิยม โลกทัศน์ของชุมชนหมู่บ้านชาวชนบท รวมทั้ง
                       พุทธศาสนาและธรรมเนียมบริหารราชการแผ่นดินแต่เดิม...

                            ...สังคมไทยไม่ใหม่จริง แต่ก็ไม่เก่าหมด, เราอาจลอกรับโครงสร้าง

                       กลไกสถาบันสมัยใหม่ทางการเมืองเศรษฐกิจสังคมจากตะวันตกเข้ามา
                       ติดตั้งในเมืองไทย แต่เราไม่ได้ลอกและไม่อาจลอกโลกทัศน์ ปรัชญา วิธีคิด
                       ที่เป็นวิญญาณ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมระหว่างบุคคล

                       กลุ่มชน และสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนของตะวันตกมาด้วย,

                            ในทางกลับกัน แม้โครงสร้างกลไกสถาบันแบบเก่าทางการเมือง
                       เศรษฐกิจสังคมของไทยเราเองจะถูกยกเลิกหรือเสื่อมโทรมเปลี่ยนแปลง
                       ไปหมดแล้ว แต่โลกทัศน์ปรัชญาวิธีคิดแบบเก่า รวมทั้งความสัมพันธ์ทาง

                       อำนาจที่เหลื่อมล้ำไม่เสมอภาค ไม่เสรีแก่บุคคลและไม่เป็นธรรมอัน
                       ตกทอดมาจากสังคมไทยแต่ก่อนก็ยังคงอยู่และดำเนินไปในโครงสร้าง
                       สมัยใหม่เหล่านั้น 32


                      32   เกษียร เตชะพีระ, “คำนำเสนอ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้เปิดปุ่มที่มองไม่เห็นกลางหลังคนไทย”
                   ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย, (อ้างแล้ว), หน้า 11.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263