Page 254 - kpi17968
P. 254

243




                         การที่กฎหมายในลำดับชั้นที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ คือพระราชบัญญัติได้กลาย

                   เป็นอุปสรรคขัดขวางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
                   เช่นนี้ นับเป็นการทำลายหลักการ “สิทธิชุมชน” อันเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
                   ในการมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดี โดยกฎหมายมิได้ทำหน้าที่คุ้มครองผล

                   ประโยชน์ของชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมสมดังเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการ
                   กระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรให้ชาวบ้าน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
                   ชาวบ้านในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ปรากฏการณ์นี้ยืนยันว่ากฎหมายตาม

                   ตัวอักษรและกฎหมายในทางปฏิบัติมีความแตกต่างกัน เจตนารมณ์และนิติธรรม
                   อันสวยหรูจึงเป็นเพียงมายาภาพในกฎหมายเท่านั้น 26


                         การที่วัฒนธรรมทางกฎหมายของสังคมไทยมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ทำให้
                   เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือ “สองมาตรฐาน” ดังมีนักวิชาการวิจารณ์ไว้ดังนี้


                            “ระบบกฎหมายที่อ้างกฎหมายรองมาละเมิดลบล้างรัฐธรรมนูญ
                       ในนามหลักนิติธรรม, ใช้กลไกกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่มาบังคับใช้
                       กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อคนส่วนใหญ่เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ร่วมออก

                       อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับปล่อยกฎหมายที่เป็นธรรมต่อคนส่วนใหญ่
                       ให้เป็นเศษกระดาษไม่มีผลบังคับใช้เพราะอิทธิพลของคนส่วนน้อย

                       ผู้เสียประโยชน์ หรือความขาดประสิทธิภาพเฉื่อยแฉะซ้ำซ้อนกระทั่ง
                       สมคบฉ้อฉลของกลไกข้าราชการคอยขัดขวาง”   27


                         ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือวัฒนธรรมในการ “อ่าน” หรือการ
                   ตีความกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมของไทย ในปัจจุบันการอ่านกฎหมาย
                   ยังคงเป็นการอ่านตามตัวอักษร โดยมิได้ยึดหลักการพื้นฐานเรื่องความเป็นธรรม
                   ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ว่า นักกฎหมายไทยนั้น “อ่านกฎหมายกันแบบ

                   นักอักษรศาสตร์ ทำให้บัญญัติของกฎหมายอยู่ลอยๆ โดยปราศจากหลักแห่ง



                      26   กมลวรรณ ชื่นชูใจ, “มายาภาพของนิติธรรมในกฎหมาย”, (ม.ป.ป.), จาก http://
                   midnightuniv.org/มายาภาพของนิติธรรมในกฎหมาย.
                      27   เกษียร เตชะพีระ, “คำนำเสนอ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้เปิดปุ่มที่มองไม่เห็นกลางหลังคนไทย”
                   ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: มติชน, 2547, หน้า 13.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259