Page 249 - kpi17968
P. 249

238




               ยึดหลักเสียงข้างมาก โดยเห็นว่าความชอบธรรมในการครองอำนาจและใช้อำนาจ

               จะต้องมาจากการเลือกตั้ง และให้ความสำคัญแก่ความเสมอภาคทางสังคมและ
               การเมืองเพื่อลดความเสียเปรียบที่พวกตนต้องเผชิญตลอดมา รวมทั้งเน้นเรื่อง
               สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในความสัมพันธ์กับรัฐภายใต้ “มาตรฐานเดียว”

               และต่อต้านการปกครองที่เน้นศีลธรรมและอำนาจนอกระบบของ “อำมาตย์” อาจ
               เรียกอุดมการณ์ที่คนกลุ่มนี้ยึดถือว่า “เสรีประชาธิปไตย”


                     ในระยะหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าระบบการเมืองไทยมีทั้งการต่อสู้
               ช่วงชิงอำนาจกันในระบบการเมืองที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กล่าวคือ

               ในระบบเลือกตั้ง พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคต่างก็สร้างฐานมวลชนโดยใช้
               นโยบายประชานิยม ส่วนการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกรัฐสภานั้น ได้กล่าว
               แล้วว่าฝ่าย “คนเสื้อแดง” อาศัยพลังทางอุดมการณ์ที่เน้นประชาธิปไตยแบบ
               เลือกตั้งและหลักความเสมอภาค พร้อมกับโจมตี “อำมาตย์” ที่ใช้อำนาจนอก

               ระบบ เพื่อสร้างความชอบธรรมและปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึก ในขณะที่ฝ่าย
               “คนเสื้อเหลือง” อาศัยพลังทางอุดมการณ์ที่เน้น “ระบอบประชาธิปไตยอันมี
               พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และโจมตี “ระบอบทักษิณ” ในแง่ของการใช้

               อำนาจเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจและความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา
               กษัตริย์อันเป็นสถาบันหลักของชาติ


                     นอกจากนี้ในระบบการเมืองที่ไม่เป็นทางการยังมีการเคลื่อนไหวของคนอีก
               หลายกลุ่ม เช่น การต่อรองกันในเรื่องต่างๆ โดยอาศัยการสร้างเครือข่ายใน
               ลักษณะใหม่ๆ ทำให้เกิดเครือข่ายหลายรูปแบบที่ความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม

               มีลักษณะเสมอภาคมากขึ้น แตกต่างจากความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์แบบเดิมเป็น
               อันมากแม้ว่าเครือข่ายแบบอุปถัมภ์แบบเดิมจะยังเหลืออยู่ในหลายวงการก็ตาม
               เป็นต้นว่าเครือข่ายชนชั้นนำทางเศรษฐกิจและข้าราชการชั้นสูงที่อาศัยหลักสูตร

               การศึกษาพิเศษของสถาบันต่างๆ ในการสร้างกลุ่มที่ร่วมมือกันในระยะยาว
                                                                                   19


                  19   ดู นวลน้อย ตรีรัตน์ ภาคภูมิ วาณิชกะ, “เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่าย
               ทางการศึกษาพิเศษ” ใน สู่สังคมไทยเสมอหน้า, กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.








                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254