Page 245 - kpi17968
P. 245

234




                     ในทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา คนกลุ่มใหม่ที่มีบทบาททางการเมืองอย่าง

               โดดเด่นแทนข้าราชการ ได้แก่ ชนชั้นกลาง โดยที่ชนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มทุนระดับ
               ชาติและกลุ่มทุนท้องถิ่น กลายเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจผ่านการเลือกตั้งหรือ
               ระบบรัฐสภา และกลุ่มทุนใหญ่กลุ่มหนึ่งได้เข้ามาเป็นเจ้าของพรรคการเมืองที่มี

               อิทธิพลเหนือนักการเมืองส่วนใหญ่ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น อีกทั้งยังมี
               อิทธิพลเหนือชนชั้นล่างในชนบทในครึ่งหลังของทศวรรษ 2540 โดยกลุ่มทุนใหญ่
               ดังกล่าวนี้มีแนวโน้มว่าจะสืบทอดอำนาจอย่างยาวนานจากการตอบสนองความ

               ต้องการของชนชั้นกลางระดับล่างด้วยนโยบายประชานิยม ส่งผลให้ชนชั้นกลาง
               ระดับกลางและระดับสูงจำนวนหลายล้านคนซึ่งเรียกกันว่า “คนเสื้อเหลือง” พากัน
               ปฏิเสธระบบการเมืองที่เป็นทางการที่ให้ความสำคัญแก่รัฐบาลที่จากการเลือกตั้ง

               โดยที่ชนชั้นกลางระดับกลางและระดับสูงเหล่านี้ได้อาศัยพระราชอำนาจนำ
               (hegemony) ของพระมหากษัตริย์และ “อุดมการณ์ราชาชาตินิยมแบบพ่อแห่ง
               ชาติ” ในการเคลื่อนไหวต่อต้านเครือข่ายอำนาจของกลุ่มทุนใหญ่ที่เรียกกันว่า

                              12
               “ระบอบทักษิณ”  ในขณะเดียวกัน คนชนบทส่วนใหญ่ที่กลายเป็นชนชั้นกลาง
               ระดับล่าง ซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามของ “คนเสื้อแดง” ก็ต้องการระบอบ
               ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเพราะได้ประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลที่เอาใจ

               คนชนบทเพื่อคะแนนเสียง รวมทั้งต้องการที่จะเข้าถึงทรัพยากรที่บริหารจัดการ
               โดยรัฐอย่างเสมอภาคมากขึ้นด้วย


                     ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการเมืองดังกล่าวข้างต้นนี้ทำให้
               วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเดิมที่คนในสังคมไทย
               เกือบทั้งหมดยอมรับการแบ่งคนออกเป็นลำดับชั้น ซึ่งหมายถึงการยอมรับในความ

               สัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบ “การปกครองแบบไทย” หรือ “ประชาธิปไตยแบบ
               ไทย” ที่อำนาจอยู่ในมือของผู้นำกองทัพหรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งการ
               ยอมรับในเรื่อง “หลายมาตรฐาน” โดยดุษณี เปลี่ยนมาสู่ยุคที่มีคนหลายล้านคน

               ลุกขึ้นเรียกร้องระบอบเสรีประชาธิปไตยและความเสมอภาค โดยผู้เคลื่อนไหว

                  12   สายชล สัตยานุรักษ์, “อุดมการณ์ชาตินิยมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ
               ชนชั้นกลางไทย” ใน ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน
               ความทรงจำ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558,
               หน้า 255-284.





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250