Page 241 - kpi17968
P. 241
230
อานันท์ ปันยารชุน ระบุด้วยว่า “ความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของภาค
ตุลาการเป็นฐานหลักอย่างหนึ่งของหลักนิติธรรม หากผู้พิพากษาใช้กฎเกณฑ์
ชุดหนึ่งสำหรับผู้ที่มีอำนาจวาสนา และใช้อีกชุดหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่มีสิ่งเหล่านั้น
ระบบการเมืองและยุติธรรมทั้งหมดก็จะตกต่ำเสื่อมเสีย และเซาะกร่อนความ
ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในการให้ความยุติธรรม” 4
หลักนิติธรรมนี้จะต้องอยู่เคียงคู่กับหลักความสูงสุดของกฎหมาย (the
supremacy of law) เสมอ เนื่องจากเมื่อรัฐใดใช้กฎหมายเป็นหลักเกณฑ์สูงสุด
ในการปกครองแล้ว ก็จะเป็นการรับประกันว่าพลเมืองทุกๆ คน แม้แต่เจ้าหน้าที่
ของรัฐหรือผู้ปกครอง ในการปฏิบัติตามหน้าที่หรือการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
ก็จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายซึ่งเป็นสิ่งสูงสุด นอกจากนี้ชุดคุณค่าหรือ
บรรทัดฐานหลายอย่างในทางการเมือง เช่น ความเท่าเทียม ความเที่ยงธรรม
ก็ถูกนำมาสร้างให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมผ่านการออกกฎหมายและการบังคับใช้
กฎหมายที่วางอยู่บนชุดคุณค่าเหล่านั้น จนกลายเป็นสถาบันทางสังคม (social
institution) ที่เป็นผลจากการยอมรับและการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม 5
อย่างไรก็ตาม อานันท์ ปันยารชุน ได้เตือนไว้ด้วยว่า “หลักความสูงสุดของ
กฎหมาย” นี้มีความแตกต่างอย่างละเอียดอ่อนกับ “กฎหมายที่เข้มงวด” ที่บีบ
บังคับให้คนต้องทำตาม ดังความว่า
การปกครองด้วยหลักนิติธรรมนั้นต่างจากการปกครองด้วย
กฎหมาย เราต้องมี rule of law ไม่ใช่ rule by law ตรงนี้มีความ
ละเอียดอ่อนที่สำคัญ...ในประเทศไทยเราเอง ขณะนี้เหตุการณ์สงบ แต่
เป็นเพียงผิวเผิน สังคมจะอยู่ไม่ได้ในอนาคตหากความสงบนั้นเกิดจาก
กฎหมายที่เข้มงวด มีมาตรการทำให้คนพูดไม่ออกหรือพูดไม่ได้ เป็นการ
กำหนดให้มีความสงบ มากกว่าการเกื้อกูลให้ความสงบเกิดขึ้นเองภายใต้
4 เรื่องเดียวกัน.
5 สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ, คำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่,
(อ้างแล้ว), หน้า 140.
การประชุมกลุมยอยที่ 2