Page 238 - kpi17968
P. 238
227
หลักนิติธรรมที่สมควรจะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูป ทั้งนี้โดยการพิจารณา
วัฒนธรรมทางการเมืองอย่างสัมพันธ์กับโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมือง เพื่อหา
ทางปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างรอบด้านไปพร้อมกัน เพื่อให้สังคมการเมืองไทย
พัฒนาไปสู่สังคมที่ยึดหลักนิติธรรมโดยเร็วที่สุด
ามหมาย “ ั นธรรม า การ ม ” ละ “หลักนิติธรรม”
เนื่องจากคำว่า “หลักนิติธรรม” และ “วัฒนธรรมทางการเมือง” ได้รับ
การให้ความหมายที่แตกต่างกันในหมู่นักคิด นักวิชาการ นักการเมือง นักกฎหมาย
ฯลฯ จึงสมควรนิยามความหมายของคำทั้งสองที่ใช้ในบทความนี้เสียก่อน
“วัฒนธรรมการเมือง” หมายถึงระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่คลี่คลาย
เปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนระบบคุณค่าและ
อุดมการณ์ และเนื่องจากสังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายที่ดำเนิน
ชีวิตอยู่ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้มี
วัฒนธรรมการเมืองที่แตกต่างหลากหลาย โดยที่คนทุกกลุ่มล้วนแต่ดำรงชีวิตอยู่
ภายใต้อำนาจอธิปไตยเดียวกันแต่มีสิทธิ อำนาจ และอิทธิพลไม่เท่าเทียมกัน และ
ต่างก็ต้องการเข้าถึงหรือได้ประโยชน์จากทรัพยากรของรัฐให้มากที่สุด จึงเกิดการ
ต่อสู้และต่อรองทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการสร้างความหมาย
ของมโนทัศน์ต่างๆ เกี่ยวกับระบอบการเมือง บุคคล และสถาบันที่สำคัญๆ จาก
จุดยืนหรือมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นเรื่องของความแตกต่างทาง
ความคิดเท่านั้น ยังเป็นการสร้างความหมายเพื่อมุ่งใช้ประโยชน์ในการต่อสู้
ทางการเมืองอีกด้วย
สภาวการณ์ดังกล่าวมานี้ ทำให้ระเบียบแบบแผนทางการเมืองหรือ
“วัฒนธรรมทางการเมืองไทย” ในระยะหลายปีที่ผ่านมามีพลวัตสูงมากและมีความ
สลับซับซ้อนมาก ในบางกรณีก็มีความกำกวมไม่ชัดเจนเพราะมีความเข้าใจหรือ
ความคิดที่ขัดแย้งกันในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ รวมทั้งในเรื่องระบบคุณค่า
และทัศนะเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนไปยึดถือระบบ
คุณค่าใหม่ในขณะที่ยังไม่สามารถละทิ้งระบบคุณค่าเดิม และการยอมรับ
การประชุมกลุมยอยที่ 2