Page 240 - kpi17968
P. 240
229
เป็นการใช้อำนาจอย่างจำกัดภายใต้กรอบของกฎหมายโดยไม่ละเมิดสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งสิทธิเสรีภาพในการกำกับ
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันประชาชนก็มีสิทธิ เสรีภาพ โอกาส และ
ความสะดวกที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ของรัฐอย่างกว้างขวางทั้ง
ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ปาฐกถาของอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน กล่าวถึงบรรทัดฐาน
ใหม่ หรือ New Normal ที่ประเทศไทยพึงบรรลุถึงโดยเร็ว ซึ่งบรรทัดฐานใหม่ที่
สำคัญยิ่งประการหนึ่ง “คือการทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปกครองโดยหลัก
นิติธรรม” นั่นเอง ทั้งนี้อานันท์ ปันยารชุน ได้นิยามความหมาย “การปกครอง
โดยหลักนิติธรรม” ไว้ดังต่อไปนี้
...สังคมที่ปกครองโดยหลักนิติธรรม ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ตัวบท
กฎหมาย แต่ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายและความเป็นธรรม
ด้วย จริงอยู่หลักนิติธรรมต้องอาศัยกฎกติกาที่รัดกุมและมีหลักการ แต่
กฎกติกาเหล่านั้นต้องบังคับใช้อย่างตรงไปตรงมากับทุกๆ คนโดยไม่มี
กรณียกเว้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรในภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ
แม้กระทั่งตัวรัฐบาลเอง ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย กระบวนการร่างและ
บังคับใช้กฎหมายต้องมีความโปร่งใสและเป็นธรรม กระบวนการ
ยุติธรรม ซึ่งรวมทั้งกระบวนการตุลาการ ต้องมีอิสระ มีคุณภาพ
ไม่ลำเอียง มีความเที่ยงธรรม และไม่ชักช้า ที่สำคัญ กฎหมายไม่ควร
ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ลำดับ
ขั้นตอนการดำเนินงานของรัฐบาลต้องคงเส้นคงวา รัฐบาลไม่ควรดำเนิน
การตามอำเภอใจ จับกุมผู้คนที่คัดค้านนโยบายของตน และลิดรอน
สิทธิเสรีภาพที่บุคคลเหล่านั้นพึงมีตามกฎหมาย สิทธิมนุษยชนของ
ราษฎรทุกคนควรได้รับการปกป้องอย่างเคร่งครัดและเท่าเทียมกัน 3
3 อานันท์ ปันยารชุน, “สู่บริบทใหม่ของประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย”
ปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2558 จัดโดยธนาคารแห่ง
ประเทศไทยร่วมกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, (วันที่ 17 กันยายน 2558), สืบค้น
เมื่อ 18 กันยายน 2558, จาก http://thaipublica.org/2015/09/anan-17-9-2558/.
การประชุมกลุมยอยที่ 2