Page 243 - kpi17968
P. 243

232




                        กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและ

                   ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
                   เป็นการเจาะจง...”
                                  8

                     ส่วนการใช้คำว่า “นิติธรรม” โดยตรง ปรากฏเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฯ
               พ.ศ.2550 มาตรา 3 วรรค 2 ความว่า “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา
               คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็น

               ไปตามหลักนิติธรรม”
                                  9
                     การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับเช่นนี้ นับเป็นการประกาศหลักการ

               ของรัฐต่อสาธารณชนว่าผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งสามอำนาจ (ตามหลักการแบ่งแยก
               อำนาจ) รวมถึงองค์กรของรัฐอื่นๆ ที่มีอำนาจหน้าที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิ

               เสรีภาพของประชาชนได้นั้น ล้วนแล้วแต่จะต้องกระทำการอยู่ภายใต้กรอบของ
                                                        10
               กฎหมายอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม

                     เห็นได้ชัดว่าตราบจนถึงปัจจุบันสังคมการเมืองไทยยังไม่บรรลุเป้าหมายดัง
               กล่าวนี้อย่างแท้จริง  เพราะมีอุปสรรคอันเกิดจากโครงสร้างรัฐและวัฒนธรรม
                                 11
               ทางการเมือง (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า) อย่างไรก็ตาม การนำเอาคำว่า “นิติรัฐ”
               และ “นิติธรรม” มาใช้กว้างขวางขึ้นในระยะหลัง ก็แสดงให้เห็นว่า หลักนิติรัฐและ

               นิติธรรมได้กลายเป็นอุดมคติที่สังคมการเมืองไทยต้องการจะบรรลุถึง แต่ปัญหา



                   8   ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก วันที่ 11 ตุลาคม 2540, หน้า 6-7.
                   9   ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 3.

                  10   สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ, คำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่,
               (อ้างแล้ว), หน้า 140.
                   11   อานันท์ ปันยารชุน กล่าวว่า “จะเห็นได้ว่าหนทางสู่การพัฒนาหลักนิติธรรมของเรายังอีก
               ยาวไกล” โดยอ้างตัวเลขวัดความสมบูรณ์ของหลักนิติธรรมของประเทศทั่วโลกที่จัดทำโดย World
               Justice Project ใน พ.ศ. 2558 พบว่าสี่อันดับต้นได้แก่กลุ่มประเทศนอร์ดิกคือ เดนมาร์ก
               นอร์เวย์ สวีเดน และ ฟินแลนด์ ส่วนประเทศไทยได้คะแนนเพียง 0.52 จากคะแนนเต็ม 1 นับ
               เป็นลำดับที่ 56 จาก 102 ประเทศ อันดับของประเทศไทยนี้ต่ำกว่าประเทศฟิลิปปินส์ กรีซ และ
               กานา โปรดดู อานันท์ ปันยารชุน, “สู่บริบทใหม่ของประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบ
               ประชาธิปไตย” (อ้างแล้ว).




                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248