Page 242 - kpi17968
P. 242
231
ครรลองของกฎระเบียบและหลักปฏิบัติในสังคม 6
นอกจากนี้ อานันท์ ปันยารชุน ยังกล่าวด้วยว่า “หลักนิติธรรมย่อมเกิด
ขึ้นควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และความโปร่งใสของสถาบันรัฐ
และบุคคลในสถาบันเหล่านั้น” และขยายความเพิ่มเติมว่า
ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและความโปร่งใสในแก่นแท้แล้ว
มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อคุ้มครองพลเมืองจากนโยบายที่หลงทาง
หรือการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนกลุ่มน้อย... ประชาชนต้อง
สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับนโยบายและโครงการ
สาธารณะ และทันกับเหตุการณ์ การถ่วงดุลและคานอำนาจเช่นนี้
เป็นหัวใจของความรับผิดชอบที่รัฐจะพึงมีต่อสังคม
การปกครองด้วยหลักนิติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส
และรับผิดชอบของภาครัฐ เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่รัฐบาลที่ตอบสนอง
ต่อความต้องการของประชาชน หรือ responsive government 7
ั นธรรม า การ ม ไ ย นป บันกับการ ช หลักนิติธรรม
แนวคิดที่สอดคล้องกับ “หลักนิติธรรม” ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยมานานเกือบสองทศวรรษแล้ว ดังข้อความในรัฐธรรมนูญฯ
พ.ศ. 2540 มาตรา 29 ที่ระบุว่า
“การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะ
กระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ
เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบ
กระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
6 อานันท์ ปันยารชุน, “สู่บริบทใหม่ของประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบ
ประชาธิปไตย” (อ้างแล้ว).
7 เรื่องเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2