Page 244 - kpi17968
P. 244
233
สำคัญที่คนไทยทุกกลุ่มจำเป็นต้องร่วมกันหาคำตอบก็คือ สังคมการเมืองไทย
จะบรรลุถึงหลักนิติธรรมได้อย่างไร และคำตอบที่ได้มาควรจะเป็นไปได้จริงในทาง
ปฏิบัติด้วย กล่าวคือมีความเป็นไปได้ที่คนไทยจะร่วมกันทำให้เกิดขึ้นในเงื่อนไข
ที่เป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น ก่อนอื่นจึงควรวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของ
วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักนิติธรรมโดย
สังเขป
าม ปล ยน ปล ั นธรรม า การ ม ไ ย นป บัน
ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยได้เกิดปัญหาทางการเมือง
และความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่เกี่ยวเนื่องและส่งผลต่อวัฒนธรรมการเมือง
ไทย ซึ่งมีทั้งด้านที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักนิติธรรม และด้านที่เกื้อหนุนการใช้
หลักนิติธรรม
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
ได้ทำให้โครงสร้างทางชนชั้นในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก นอกจากนักศึกษา
รุ่น 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งกลายมาเป็นนักวิชาการ ปัญญาชน หรือที่ปรึกษา
ของนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ แล้ว ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่มีบทบาท
ทางการเมือง ทั้งกลุ่มชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเดิมที่ต้องการรักษาอำนาจและ
ผลประโยชน์ซึ่งมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งพยายามทำให้สังคมยอมรับในความชอบ
ธรรมที่จะมีอำนาจและสถานภาพสูงในสังคมสืบไป เช่น ทหาร ข้าราชการ
นายทุน นักการเมืองในพรรคการเมืองเก่าบางพรรค เทคโนแครต และนักกฎหมาย
ที่เป็นเนติบริกร และกลุ่มคนใหม่ๆ บางกลุ่มที่ต้องการเลื่อนสถานภาพ เพิ่มพูน
อำนาจและผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง เช่น กลุ่มทุนใหญ่หรือกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์
กับกลุ่มทุนพวกพ้องที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง แต่ยังคง
อาศัยอำนาจรัฐไทยในการแสวงหาผลประโยชน์ และชนชั้นกลางระดับล่างซึ่ง
ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทและมีรายได้หลักจากภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการ นอกจาก
นี้ยังมีกลุ่มที่เคยอยู่เหนือหรืออยู่นอกพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งได้ขยายบทบาท
ทางการเมืองมากขึ้นใน “ยุคเปลี่ยนผ่าน” ที่การจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ยัง
ไม่ลงตัวจนเกิดความขัดแย้งทางการเมืองสูงขึ้น เช่น ผู้พิพากษาระดับสูง เป็นต้น
การประชุมกลุมยอยที่ 2