Page 237 - kpi17968
P. 237

226




               ภราดรภาพขึ้นมาในสังคมแทน ดังนั้น จึงควรหาทางทำให้หลักนิติธรรมกลายเป็น

               หลักการพื้นฐานของสังคมการเมืองไทยโดยเร็วที่สุด


                     อย่างไรก็ตาม การที่สังคมการเมืองไทยจะหันมายึดในหลักนิติธรรมอย่าง
               แท้จริงนั้น มิได้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย เพราะการละเมิดหลักนิติธรรม
               ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายซึ่งมีอิทธิพลและอำนาจ
               ไม่เท่าเทียมกัน อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและ

               โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างมากในระหว่างคนที่อยู่ใน
               ภาคการผลิตต่างๆ รวมทั้งการที่แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มมีโอกาสครอบครองและ

               เข้าถึงทรัพยากรไม่เท่ากัน  และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การที่คนทุกกลุ่มใน
               สังคมไทยจะยอมรับหลักนิติธรรมมากหรือน้อยเพียงใดนั้นยังขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม
               ทางการเมืองของไทยอีกด้วย


                     วัฒนธรรมทางการเมืองมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงจากเดิมได้ในทันที
               ทันใดโดยอาศัยคำสั่งของบุคคลหรือสถาบันที่ทรงอำนาจ เพราะวัฒนธรรมทาง
               การเมืองมีรากฐานอยู่บนโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองในยุคหนึ่งๆ และ

               บางส่วนยังเป็นมรดกตกทอดมาจากอดีตอีกด้วย นอกจากนี้วัฒนธรรมการเมือง
               ยังสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับระบบคุณค่าและอุดมการณ์ที่คนทั้งหลายในสังคม

               ยึดถือ ซึ่งระบบคุณค่าและอุดมการณ์ของคนทั้งหลายในสังคมไทยมิได้มีความเป็น
                                           1
               อันหนึ่งอันเดียวกันแต่อย่างใด  ดังนั้น หากต้องการให้คนทุกกลุ่มทุกฝ่ายใน
               อนาคตยึดมั่นในหลักนิติธรรม ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจลักษณะสำคัญของ
               วัฒนธรรมการเมืองในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดจากอดีตและส่วนที่

               เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อพิจารณาว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยส่วนใด
               บ้างที่เอื้อต่อการใช้หลักนิติธรรมซึ่งสมควรจะได้รับการเสริมสร้างให้แข็งแกร่ง
               ยิ่งขึ้น และวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยส่วนใดบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้



                   1    โปรดดูการถกเถียงระหว่างผู้มีจุดยืนทางการเมือง ระบบคุณค่า และอุดมการณ์ต่างกันใน
               สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ในหนังสือ แสงสว่างกลางอุโมงค์: หลากหลายความคิด
               วิเคราะห์อนาคตสังคมการเมืองไทย, โครงการสัมมนาระดมความคิดนักคิดนักวิชาการเพื่อ
               วิเคราะห์อนาคตสังคมการเมืองไทย ณ รวีวารีรีสอร์ท เมื่อวันที่ 16-27 ตุลาคม 2556 จัดโดย
               มูลนิธิเอเชียและมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, เชียงใหม่: โรงพิมพ์เกวลีพรินติ้ง, 2557.





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242