Page 232 - kpi17968
P. 232
221
ประเด็นที่ท้าทายถัดไป ที่กล่าวไว้แล้วว่า จะออกแบบหลักเกณฑ์ตาม
กฎหมายเช่นไรให้บรรดาผู้มีอำนาจทั้งในการเมือง การเศรษฐกิจ ไม่สามารถลด
ทอนการบังคับใช้หลักนิติธรรมในบริบทวัฒนธรรมการเมืองไทยได้สะดวกหรือให้
ทำไม่ได้เลยอย่างไร ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขของเมืองไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถือเป็นกฎหมาย
ที่มีลำดับศักดิ์สูงสุด กฎหมายใดในแผ่นดินนี้จะขัดกับรัฐธรรมนูญมิได้ ทุกครั้งที่มี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทางปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน เมืองไทยจะ
จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสมอ และปวงชนชาวไทยล้วนมีความคาดหวังว่า
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นเสมือนยารักษาโรคขนานวิเศษสำหรับสังคมไทย
ผู้เขียนใคร่ขอเสนอความเป็นมาของเมืองไทยกับรัฐธรรมนูญในอดีตกับจำนวนของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันอาจจะเป็นภาพสะท้อนบางอย่างในอนาคต
ได้บ้าง ดังนี้
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึง
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยรวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมมีจำนวนมาก แต่
ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญตามความเห็นผู้เขียน จะมีดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.
2475
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศและ
ใช้บังคับเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและ
บังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและ
บังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492
การประชุมกลุมยอยที่ 2