Page 227 - kpi17968
P. 227
216
ก็ให้เขียนชื่อส่งมอบให้อาลักษณ์ผู้เอาโครงจดหมายไปถามหารือพระบรม
วงศานุวงศ์ ก็ให้เขียนถวายเข้ามาองค์ละฉบับทุกๆ องค์ ข้าราชการก็ให้
เขียนเข้ามาถวายคนละฉบับๆ จงทุกๆ คน โปรดเกล้าฯ ว่าอย่าให้รังเกียจ
สงสัยว่าจะทรงล่อล่วงล้อเลียนอย่างใดอย่างหนึ่งเลย...” 16
แนวพระราชดำริตามประกาศฉบับนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นไปตามแนวทาง
เดียวกับการสดับตรับฟังเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย อันนำไปสู่การ
เลือกตั้ง การกลั่นกรองโดยรัฐสภาเพื่อแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ในสถาบันหรือ
องค์กรหลักต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามที่เราทราบเป็นการ
ทั่วไป
การสำรวจและทบทวนวัฒนธรรมทางการปกครองของไทยในอดีตตามที่ยก
เพียงบางตัวอย่างข้างต้น จะเห็นภาพชัดเจนว่า การที่จะส่งเสริมให้มีการบังคับใช้
หลักนิติธรรมในการเมืองการปกครองของเมืองไทย อย่างจริงจังได้ เพื่อการ
พัฒนาประชาธิปไตยไทยต่อไปนั้น ประเด็นแรกสุดคือจะเปลี่ยนทัศนคติของ
ชาวไทยอย่างไรให้คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตน ประเด็นถัด
ไปคือจะออกแบบหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเช่นไรให้บรรดาผู้มีอำนาจทั้งใน
การเมือง การเศรษฐกิจ ไม่สามารถลดทอนการบังคับใช้หลักนิติธรรมในบริบท
วัฒนธรรมการเมืองไทยได้สะดวกหรือให้ทำไม่ได้เลย ประเด็นที่ท้าทายทั้ง
2 ประเด็นนี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่ นักปฏิรูปการเมืองไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ต่างพยายามค้นคิด ค้นหาเพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการนานาประการ
การเปลี่ยนทัศนคติของชาวไทยจะทำอย่างไร ทำกับคนรุ่นใดจึงจะได้ผล
เมื่อถามความเห็นกันไปมาระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะตอบว่าต้องสร้างคน
รุ่นใหม่ วิธีการสร้างคนรุ่นใหม่นั้น หลายๆ ท่านคงเห็นด้วยว่าต้องใช้การศึกษา
เป็นเครื่องมือสำคัญ เมืองไทยวนอยู่กับคำถามคำตอบนี้มาตั้งแต่เปลี่ยนแปลง
การปกครอง จนปัจจุบันยังไม่ทราบว่าได้รับคำตอบว่าจะตรากฎหมายเกี่ยวกับ
การให้การศึกษาแก่บุตรหลานไทยอย่างไรให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมที่สุด
ผู้เขียนได้ติดตามการดำเนินงานในช่วงต้นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา
16 ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4, น. 175.
การประชุมกลุมยอยที่ 2