Page 223 - kpi17968
P. 223
212
ระดับต่างๆ นั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจมากคือการกำหนดให้เป็นผู้ที่มี “ปัญญาวุฒิ”
คือมีความฉลาดสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งปัญหาภายในและปัญหาที่เกิดจาก
ต่างประเทศ ส่วนอธิบดี 4 ประการนั้นซึ่งตรงกับหลักธรรมเรื่องอิทธิบาท 4 ใน
พระพุทธศาสนา วุฒิ 4 และอธิบดี 4 ดังกล่าวมาในตัวบทกฎหมายเก่านี้ ใช้ใน
การพิจารณาประกอบการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของชาติบ้านเมืองได้โดยไม่มีล้า
สมัย
ประเด็นที่ถูกตั้งคำถามประการหนึ่งไว้ในกลุ่มประเด็นห้องย่อยเพื่อ
ระดมความคิดเห็นกลุ่มนี้ ได้ตั้งสมมติฐานว่า การบังคับใช้หลักนิติธรรมในสังคม
ไทยที่ผ่านมา มักเป็นการใช้อำนาจทางกฎหมายบนฐานของวัฒนธรรมการเมือง
ไทย ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับหลักนิติธรรมเท่าใดนัก เช่น การใช้ความสัมพันธ์
แบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่ง การคอร์รัปชั่นโดยอาศัยระบบอุปถัมภ์
การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม (abuse of power) ในทางการเมือง การขาดการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองโดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และ
การเกรงกลัวผู้มีอำนาจ เป็นต้น วัฒนธรรมการเมืองไทยในลักษณะอำนาจนิยม
ไพร่ฟ้า และระบบอุปถัมภ์เช่นนี้ได้สืบทอดต่อกันมาในสังคมไทยด้วยความเคยชิน
จนกลายเป็นจิตสำนึกและพฤติกรรมของคนไทย
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเกี่ยวกับการพยายามป้องกันมิให้
มีการใช้ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้ง ดังปรากฏในกฎหมายที่ตราขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เรียกว่า ประชุมประกาศ
รัชกาลที่ 4 ได้แก่ ประกาศฉบับที่ 237 ประกาศว่าด้วยการเดินเป็นเจ้าเมือง
ณ วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ ปีกุน เบญจศก ผู้เขียนขอคัดเนื้อความ
ส่วนใหญ่ที่น่าสนใจ ตามต้นฉบับ ดังนี้
“มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่
ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายในให้ทราบทั่วกันว่า อ้ายพระ
อ้ายจมื่น อ้ายหลวง อ้ายขุน หรืออ้ายหมื่นเจ๋อเจอะกล้าๆ เป็นคนในกรุง
บ้าง คนในหัวเมืองบ้าง ที่อยากจะเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองใน หัวเมือง
นั้นๆ หานายหน้าเที่ยวเดินขอเสียสินบนถวายพระองค์เจ้า เจ้าจอมข้างใน
การประชุมกลุมยอยที่ 2