Page 221 - kpi17968
P. 221
210
ใช้กฎหมายต้องอยู่บนหลักนิติธรรม ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้คือ “คน”
ผู้มีอำนาจรักษาและบังคับใช้กฎหมายในภาพรวมทั้งในการตรากฎหมาย
การควบคุมกำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่และประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย การลงโทษ
ผู้ที่ฝ่าฝืน ในอดีตคือพระมหากษัตริย์คือซึ่งทรงกุมอำนาจสูงสุดในทางบริหาร
ราชการแผ่นดินซึ่งทรงกระทำผ่านทางขุนนางน้อยใหญ่ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งให้ทำ
หน้าที่ ในปัจุบันของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีระบบการเลือกตั้งที่
สมบูรณ์ แบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ผู้มี
บทบาทสำคัญยิ่งคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และ
ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ใช้
บังคับอยู่ในขณะนั้น การเลือก การสรรหา หรือจะเป็นวิธีการใดๆ ก็ตามแต่จะเรียก
จำเป็นที่ต้องได้ “คนดี” เพื่อมาทำหน้าที่ดังกล่าว
ในปัจจุบัน เมื่อมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งในฝ่ายการเมืองและ
ฝ่ายข้าราชการประจำ มักปรากฏข้อร้องเรียน ข้อครหา หรือกล่าวหาว่าเป็นการ
แต่งตั้งโดยใช้ระบบอุปถัมภ์บ้าง มีผลประโยชน์ทับซ้อนบ้าง มีอคติส่วนตัวระหว่าง
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งกับผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาบ้าง ในภาพรวมของการ
แต่งตั้งมีข้อสงสัยว่าได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการที่
กำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับการใช้หลักนิติธรรมใน
กฎหมายหรือไม่ ผู้เขียนจึงใคร่ขอกล่าวถึง หลักในการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการ
ชั้นผู้ใหญ่ในอดีต ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญมีผลต่อการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
ที่กำหนดไว้ตามตามกฎหมายมีหลักการเช่นไร ซึ่งพบหลักการที่เป็นธรรมและ
สามารถนำหลักการบางประการมาประยุกต์ใช้ให้ทันสมัยได้ คือ
หลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่น่าสนใจ ดังปรากฏใน
พระราชกำหนดเก่า ฉบับที่ 50 ตามหลักฐานประกาศใช้เมื่อจุลศักราช 1102 ปี
วอกโทศกตรงกับ พ.ศ. 2283 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ซึ่ง
ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301 มีความว่า
14
14 ราชบัณฑิตยสถาน, กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2, น. 914-
915.
การประชุมกลุมยอยที่ 2