Page 220 - kpi17968
P. 220
209
อันเป็นบทบัญญัติที่ไม่เป็นธรรมอยู่เช่นนั้นจริง ในการนี้พระองค์ทรงตำหนิผู้ที่ตรา
บทกฎหมายที่ขาดความเป็นธรรมนี้ไว้ว่า “พระราชกำหนดบทพระอายการนั้นก็
ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเปนอันมาก ด้วยคนอันโลภหลงหาความลอายแก่
บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิภากษาภาให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นดินไป
ก็มีบ้าง...” จากนั้นจึงทรงสั่งให้ชำระกฎหมายทั้งหมดในภาพรวมและทรงตรวจขั้น
สุดท้ายด้วยพระองค์เองดังปรากฏความว่า “... จึงทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อม จัดข้าทูลลอองทุลีพระบาท ที่มีสะติปัญญาได้...11 คน ชำระ พระราช
กำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวงตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วน....
ทรงพระอุตสาหทรงชำระดัดแปลงซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้ ด้วย
พระไทยทรงพระมหากรรุณาคุณจให้เปนประโยชน์แก่กระษัตรอันจดำรงแผ่นดิน
ไปในภายหน้า”
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานตอนใดเลยว่า พระองค์ได้ทรงสั่งเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษา หรือทรงตำหนิโทษผู้พิพากษาตุลาการผู้ตัดสิน ทั้งนี้เนื่องจากการ
พิจารณาพิพากษาคดีนี้ผู้พิพากษาตุลาการได้กระทำตามตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ขณะนั้น แต่ทรงตำหนิผู้ตราบทกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมนั้น และทรงสั่งให้แก้ไข
โดยเร็วคือการชำระกฎหมายครั้งใหญ่ในภาพรวมดังกล่าวมาแล้วเพื่อให้เกิดความ
เป็นธรรม
การที่พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีพระราชอำนาจ
เป็นล้นพ้น พระบรมราชโองการใดย่อมถือว่ามีผลบังคับเป็นกฎหมาย จะกลับแก้
เพิกถอนเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ย่อมกระทำได้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงกระทำในสิ่งที่
มิได้ถูกบัญญัติไว้ตามกฎหมายในขณะพิจารณาและพิพากษาคดี เหตุการณ์นี้คือ
สิ่งแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยึดมั่นใน
“การปกครองที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ หรือการปกครองที่ถือหลักนิติธรรม (The
Rule of Law)”
ในการปกครองไม่ว่าที่ใด ประการแรกตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้
ต้องมีความเป็นธรรม เสมอภาค มุ่งประสงค์ใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ไม่ว่าผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนั้นจะแตกต่างกันที่เหล่ากำเนิด เพศ หรือ
ศาสนา ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งกฎหมายเสมอกัน ประการถัดไปการบังคับ
การประชุมกลุมยอยที่ 2