Page 219 - kpi17968
P. 219

208




               ตลอดมาและมีการการเพิ่มเติมกฎหมายบางฉบับบ้าง เช่นกฎหมายที่ตราขึ้นใน

               รัชกาลที่ 2-5 นับได้ว่าชาติสยามเราใช้กฎหมายตราสามดวงมาร่วมสี่ร้อยปีเศษ
               โดยมีกฎหมายอื่นๆ ประกอบด้วย จนกระทั่งไทยต้องเผชิญกับลัทธิจักรวรรดินิยม
               ตะวันตก ประเทศอังกฤษและประเทศตะวันตกอื่นๆ มีระบบกฎหมายที่แตกต่าง

               กับไทย จึงเห็นว่ากฎหมายของไทยป่าเถื่อน จึงเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
               จากไทยเพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยและศาลไทย จนต้องทำ
               สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring‘s Treaty) กับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และทำ

               สนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอื่นๆ ทำให้ไทยเสียสิทธิสภาพ
               นอกอาณาเขต และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
               จำต้องเร่งรีบปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทยจากเก่ามาสู่กฎหมายสมัยใหม่เพื่อให้

               เป็นที่ยอมรับของประเทศตะวันตกพื่อไทยจะได้เอกราชทางกฎหมายและการศาล
               คืนมา ในที่สุดกฎหมายตราสามดวงได้ถูกยกเลิกไป


                     ผู้เขียนได้สืบค้นและวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายบนหลักนิติธรรมตามที่
               ปรากฏหลักฐานจากกฎหมายตราสามดวง ในพระอัยการทุกฉบับที่ประกอบอยู่ใน
               กฎหมายตราสามดวง จะเริ่มต้นด้วยประกาศพระราชปรารภก่อน เพื่อเป็นการ

               กล่าวถึงสาเหตุของการที่ต้องชำระกฎหมายครั้งใหญ่ สรุปความได้ว่า มีการตัดสิน
               คดีหย่าร้างเรื่องหนึ่ง ระหว่างอำแดงป้อม ผู้เป็นภรรยาฟ้องหย่านายบุญศรี
               ช่างเหล็กหลวงผู้เป็นสามี ซึ่งทางพิจารณาได้ความว่านายบุญศรี สามีมิได้มีความ

               ผิดอะไร อำแดงป้อมต่างหากที่เป็นฝ่ายผิดโดยเป็นชู้กับนายราชาอรรถ แต่มี
               ข้อกฎหมายขณะนั้นกำหนดไว้ว่าเมื่อหญิงภรรยาฟ้องหย่าชายสามี แม้ชายผู้เป็น
               สามีไม่มีความผิดก็ให้หย่าได้  พระเกษมผู้เป็นตุลาการจึงตัดสินคดีให้หย่าได้

               นายบุญศรี จึงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเพื่อขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จ
               พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเมื่อทรงรับฟังข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว
               จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังความว่า “....จึ่งทรงพระกรรุณา

               ตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้นหาเปน
               ยุติหาเป็นธรรมไม่ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่ง ให้เจ้าพญาพระคลังเอากฎหมาย
               ณสานหลวงมาสอบกับฉบับหอหลวง ฉบับข้างที่ ได้ความว่า “ชายหาผิดมิได้หญิง

               ขอหย่า ท่านว่าเปนหญิงหย่าชายหย่าได้...” เมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีข้อ
               กฎหมายที่ว่า แม้ชายสามีไม่มีความผิด ก็ให้สิทธิหญิงผู้เป็นภรรยาฟ้องหย่าได้





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224