Page 216 - kpi17968
P. 216

205




                         ต่อมามีความเห็นของชาวตะวันที่ตกที่เข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ

                   สังฆราชปาลเลกัวซ์ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
                   พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ต่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
                   เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ท่านผู้นี้ดำรงตำแหน่งสังฆราชซึ่งเป็นประมุขมิสซังสยาม

                   และประจำอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญซึ่งอยู่เหนือวัดราชาธิวาส อันเป็นวัดที่พระบาท
                   สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงอยู่ในเพศบรรพชิตทรงจำพรรษาอยู่
                   นักปราชญ์ฝ่ายตะวันตก และฝ่ายตะวันออกทั้งสองท่านนี้ ได้สนทนาและแลก

                   เปลี่ยนความรู้กันและกันตลอดมา สังฆราชปาลเลกัวซ์เป็นชาวตะวันตกอีกท่าน
                   หนึ่งที่ทำการศึกษากฎหมายตราสามดวงโดยละเอียด และให้ความเห็นไว้ใน
                   หนังสือชื่อ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” มีความตอนหนึ่งว่า


                            “ข้าพเจ้าได้อ่านประมวลกฎหมายทั้งหมดแล้ว เห็นว่าส่วนใหญ่มี
                       ความเหมาะสมมาก สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติและปรับเข้าได้กับอุปนิสัย

                       และขนบประเพณีของประชาชาติที่สร้างกฎหมายนี้ขึ้น...พระเจ้าแผ่นดิน
                       ทรงมีประมวลกฎหมายไว้ในห้องพระบรรทมเสมอเพื่อรับสั่งให้มหาดเล็ก
                       อ่านถวายให้ฟังทุกวันๆ ละ 2-3 หน้า ตุลาการผู้ใหญ่กับเจ้าเมืองทุกคน

                       จะต้องมีประมวลกฎหมายไปประจำชุดหนึ่ง แต่ไม่ค่อยได้พิจารณาคดีกัน
                       ตามตัวบทกฎหมายเท่าใดนัก ดังจะพิเคราะห์ได้จากอุทาหรณ์ต่อไปนี้
                       คดีทุกคดี พึงพิจารณาพิพากษาให้สำเร็จลุล่วงไปภายในสามวัน แต่สภา

                       ตระลาการก็มักปล่อยคดีให้ยืดเยื้อไปตั้งสองปีหรือสามปี” 12

                         ตามที่สังฆราชปาลเลกัวซ์บันทึกไว้ข้างต้น เป็นที่เห็นได้ว่าปัญหาของ

                   บ้านเมืองเราตั้งอดีตถึงปัจจุบัน มิได้เกิดจากกฎกติกาของบ้านเมืองไม่ได้ แต่เกิด
                   จากผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้
                   อย่างดีแล้วต่างหาก โดยเฉพาะความที่ว่า “คดีทุกคดี พึงพิจารณาพิพากษาให้

                   สำเร็จลุล่วงไปภายในสามวัน” นั้น ชวนสงสัยว่ามีที่มาจากหลักกฎหมายหรือไม่
                   ผู้เขียนจึงได้สืบค้นในพระอัยการสำคัญอีกฉบับหนึ่งในกฎหมายตราสามดวง คือ
                   พระอัยการลักษณะตระลาการ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ


                      12   มงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์, สันต์ ท. โกมลบุตร แปล, เล่าเรื่องกรุงสยาม, พิมพ์ครั้งที่ 3
                   (นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2549), น. 235-236.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221