Page 218 - kpi17968
P. 218

207




                   คือคดีความที่มีโทษหลวง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำความผิดตามบทบัญญัติ

                   ต่างๆ ในพระไอยการอาชญาหลวง เช่น ยักยอกทรัพย์ของพระเจ้าอยู่หัว


                         ความแพ่ง ตามกฎหมายตราสามดวงเป็นคนละ คดีในอดีตที่พิพาทเกี่ยวกับ
                   เรื่องด่าสบประมาทกัน ทำร้ายร่างกายกันไม่ถึงเป็นอันตรายสาหัส การกระทำ
                   อนาจาร ลักทรัพย์ กู้หนี้ ฟ้องหย่าขอแบ่งทรัพย์สิน ต่างถือเป็นคดีแพ่งทั้งสิ้น
                   ส่วนศาลหลักที่มีอำนาจชำระคดีในกรณีเกิดเหตุในราชธานี ได้แก่ ศาลแพ่งเกษม

                   ศาลแพ่งกลาง ศาลแพ่งวัง ซึ่งแตกต่างกับความหมายของคดีแพ่งปัจจุบัน ที่หมาย
                   ถึงคดีที่พิพาทกันเรื่องทรัพย์สินหรือสิทธิต่างๆ ที่เป็นของส่วนเอกชน และไม่มีโทษ

                   ทางอาญาใดๆ มาเกี่ยวข้อง

                         จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายเก่า เน้นการอำนวยความยุติธรรมโดย

                   รวดเร็ว คดีความที่มีโทษสูงยิ่งต้องพิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว คดีนครบาลซึ่งเป็นคดี
                   อุกฉกรรจ์ กฎหมายกำหนดให้ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าเป็นคดี
                   อาชญาซึ่งมีโทษรองลงมาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน 15 วัน และ
                   คดีแพ่งซึ่งมีโทษน้อยกว่าคดีสองประเภทแรก กลับให้เวลาพิจารณามากกว่าคือ

                   ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

                         ผู้ที่อ่านบทความนี้ คงทราบดีว่าสภาพการณ์ในการอำนวยความยุติธรรม

                   ในปัจจุบัน ยังมีความล่าช้า ไม่ทันการ และบางคดีทำให้เสียความยุติธรรมไป
                   เพราะเหตุล่าช้า จะเห็นว่าปัญหาอุปสรรคใหญ่ในประเด็นนี้ที่มีมาตั้งแต่สมัย

                   อยุธยาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีหรือขาดมาตรการที่เพียงพอและเหมาะสมในการ
                   แก้ไข ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่พอๆ กับการรักษาหลักนิติธรรมให้คงไว้
                   ในการเมืองการปกครอง การอำนวยความยุติธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการ
                   ปกครอง หลักนิติธรรมในกระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้าคงเป็นเสมือนยารักษาโรค

                   ที่หมดอายุ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
                   ให้ได้โดยเร็ว


                         เมื่อพิจารณาเนื้อหาในกฎหมายตราสามดวงต่อไป พบว่าบทบัญญัติ
                   ส่วนใหญ่เป็นตัวบทกฎหมายที่ใช้บังคับมาตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา เมื่อมีการชำระ

                   ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ใช้บังคับ





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223