Page 222 - kpi17968
P. 222
211
“...อนึ่งขนบทำเนียมผู้จะเปนพระหลวงขุนหมื่นผู้รักษาเมืองผู้รั้ง
กรมการ ย่อมมีความชอบตามคุนนานุรูปสมควรแลกอปด้วยวุธิสี่ประการ
คือชาติวุธิ ไวยะวุทธิ คุณวุทธิ ปัญาวุทธิ ชาติวุทธินั้นกระกูลเปนอัคมหา-
เสนาๆ บดีสืบๆ กันมา ไวยวุทธินั้นคืออายุศมควรตั้งแต่สามสิบเบดปี
ขึ้นไป คุณวุทธินั้นคือมีความรู้ฝ่ายทหารพลเรือนชำนิชำนาน ปัญาวุทธินั้น
คือจำเริญด้วยปัญาฉลาดในที่จะตอบแทนแก้ไข อัถปฤษหนาประเทษกรุง
อื่น แลคิดอ่านให้ชอบด้วยโลกียะราชกิจธรรมทังปวง ควรสมุหะกระลา
โหมสมุหะนายกจัตุสดมปฤกษาพร้อมกัน จึ่งนำเอากราบทูลพระกรุณา
เอาผู้กอปด้วยวุทธิสี่ประการนั้นเปนที่พระหลวงขุนหมื่น แม้นแต่
สองประการสามประการก็ภอจะเอาเปนที่พระหลวงขุนหมื่นตามสมควร
อนึ่งผู้จะเปนพระหลวงขุนหมื่น ย่อมประกอปด้วยอะธิบดีสี่ประการ
คือฉันทาธิบดี คือวิริยาธิบดี คือจิตาธิบดีคือวิมังสาธิบดี ฉันทาธิบดีนั้นคือ
ล้นเกล้าล้นกระหม่อมต้องพระราชประสงค์สิ่งใด ผู้นั้นนำซึ่งสิ่งนั้นมาทูล
เกล้าทูลกระหม่อมถวาย วิริยาธิบดีนั้นคือกอปรด้วยความเพียรในราชการ
มิได้ขาด จิตาธิบดีนั้นคือมีน้ำใจกล้าแขงในการณะรงค์สงคราม วิสังสาธิบดี
นั้นคือฉลาดในที่พิภากษาความแลอุบายในราชการต่างๆ ถ้าผู้ใดมิประกอปร
ด้วยวุทธิสี่ประการแลอะธิบดีสี่ประการแต่ประการใดประการหนึ่งไซ้ถึง
คุณานุรูปสมควรก็ดี อย่าให้สมุหกลาโหมสมุกะนายกจัตุสดมกราบทูล
พระกรุณาตั้งแต่งผู้นั้นเปนพระหลวงขุนหมื่นเปนอันขาดทีเดียว...”
วุฒิ 4 ประการ นั้นสามารถอธิบายได้ว่า การกำหนดชาติวุฒิ คือถือกำเนิด
ในตระกูลขุนนางนั้น เนื่องมาจากในอดีตไม่มีสถานศึกษาในระบบเช่นปัจจุบัน
การศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะการปกครอง อักษรศาสตร์
ประวัติศาสตร์ ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระภิกษุผู้ทรงคุณความรู้ในวัดต่างๆ
และจากครอบครัวทั้งสิ้น วัยวุฒิที่กำหนดไว้ว่าต้องมีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปจึงจะได้
รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ได้ก็เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะผู้ที่มีวัยประมาณนี้
จะมีทั้งความรู้และประสบการณ์ตามสมควรแก่ตำแหน่งหน้าที่ คุณวุฒินั้นหากจะ
เปรียบกับปัจจุบันคือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จากสถานศึกษาใน
การประชุมกลุมยอยที่ 2