Page 217 - kpi17968
P. 217
206
ปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาตุลาการให้มีความเที่ยงตรง ไม่ลำเอียงไปโดยอคติทั้งสี่
ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ และกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ
ข้อพึงปฏิบัติ ข้อห้าม ข้อกำหนดต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
เจ้าพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อปฏิบัติของคู่ความในระหว่างพิจารณาคดี
พบในมาตรา 61 กำหนดไว้ว่า
“61 มาตราหนึ่ง ราษฎรจะร้องฟ้องหากกล่าวโทษแก่กันหนักก็ดี
เบาก็ดี ถ้าแลความนะครบาลไซ้ กระลาการจะพิจารณาให้สำเรจ์แต่ใน
กำหนด 15 วัน ถ้าแลมิสำเรจ์แต่ใน 15 วัน จึ่งให้คู่ความกล่าวหาอาชญา
อุธรแก่กระลาการว่าอำยวนเนื้อความไว้ให้ช้าพ้นพระราชกำหนด ถ้าแล
เนื้อความแพ่งในกระลาการพิจารณาให้สำเรจ์แต่ในสามเดือน
ถ้าแลมิพ้นพระราชกำหนด แลคู่ความเหนตัวพิรุทแล้วแลหา
อาชญาอุธรกล่าวโทษกระลาการไซ้ให้ไหมผู้นั้นเปนเลมิดกระลาการถ้าแล
หาว่าฉกลักทรัพยสิ่งใดๆ ให้เอาสิ่งนั้นตั้งไหมผู้เลมิดนั้นแล” 13
ความนครบาล ความอาชญา และความแพ่งในมาตรานี้เป็นการแบ่ง
ประเภทคดีของระบบกฎหมายเก่าของสยาม ซึ่งแตกต่างไปจากการแบ่งแยกเป็น
คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครองในปัจจุบัน
ในอดีต ความนครบาล หมายความว่า คดีอุกฉกรรจ์มหันต์โทษทั้งหลาย
เช่นฆ่ากันตาย ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ ใช้กฤติยามนต์วางยาพิษทำร้ายกันถึงตาย
เรียกว่าความนครบาล ศาลหลักที่มีอำนาจชำระคือศาลนครบาล มีพระยายมราช
เป็นขุนศาล
ความอาชญา ตามกฎหมายตราสามดวงยังแบ่งเป็น “ความอาชญาราษฎร์”
คือคดีความที่มีโทษราษฎร์ ส่วนใหญ่เป็นการกระทำความผิดตามบทบัญญัติต่างๆ
ในพระไอยการอาชญาราษฎร์ เช่น ทำข่มเหงจองจำผู้อื่นโดยมิชอบ ศาลหลักที่มี
อำนาจชำระได้แก่ ศาลอาชญาราษฎรและศาลอาชญาจักร และ “ความอาชญาหลวง”
13 ราชบัณฑิตยสถาน, กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1, น. 486.
การประชุมกลุมยอยที่ 2