Page 215 - kpi17968
P. 215
204
“กฎหมายที่เขียนไว้มิได้รับการปฏิบัติตามและใช้ในทางที่ผิด” บรรยายไว้ ดังนี้
“...กฎหมายที่เขียนไว้แต่โบราณเป็นสิ่งที่ดีมากและมีคุณค่าสูงยิ่ง
พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายควรจะรักษากฎหมายเหล่านี้ เพราะกฎหมาย
เหล่านี้ได้รับการตราขึ้นมาเพื่อเป็นพระเกียรติยศและชื่อเสียงของ
พระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายอยู่ไม่กี่ฉบับ ...
ความไม่ซื่อสัตย์ของข้าราชการผู้ใหญ่ ทำให้การบริหารงานด้านความ
ยุติธรรมทั้งอาญาและแพ่งเป็นไปอย่างเลวมาก (แม้ว่าจะมีการวาง
กฎเกณฑ์ที่ดีเยี่ยมและได้รับการวางเงื่อนไขบทบัญญัติไว้อย่างตรงดีแล้ว
ในทุกกรณีก็ตาม) พวกคนที่มีอำนาจที่สุด พวกที่รวยที่สุดมักชนะคดี
เสมอ ทั้งนี้ก็ด้วยการติดสินบนหรือด้วยวิธีที่ทุจริตอื่นๆ และคนจนเท่านั้น
ต้องได้รับความทุกข์ยาก...” 10
นักจดหมายเหตุชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งคือ นิโคลาส์ แชร์แวส (Nicolas
Gervaise) ซึ่งเดินทางเข้ามาในสยามเมื่อราว พ.ศ. 2224 พร้อมคณะมิชชันนารี
ซึ่งเป็นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อกลับไปฝรั่งเศสเขาได้เขียนหนังสือ
เล่มหนึ่งใช้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม
และได้วิจารณ์กฎหมายไทยและการบังคับใช้กฎหมายไว้ในหนังสือดังกล่าวว่า
“....แม้ว่าความซื่อสัตย์สุจริตของบรรดาผู้พิพากษาตุลาการในศาล
ยุติธรรม จะสอดคล้องด้วยทำนองคลองธรรมตามตัวบทกฎหมายอัน
บัญญัติขึ้นใช้ในประเทศสยาม และนับได้เป็นเอกกว่าทุกแห่งในมัธยม
ประเทศก็ตาม แต่ความโลภอันยิ่งใหญ่ในอันที่จะสั่งสมความมั่งคั่งให้แก่
ตนเอง อันเป็นอกุศลจิตที่ครอบงำไปทั่วประเทศ ก็ได้ทำให้ตัวบท
11
กฎหมายในปัจจุบันไร้ความหมายไปไดแหมือนกัน...”
10 กรมศิลปากร (จัดพิมพ์ในวาระ 400 ปี สัมพันธไมตรีไทย-เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2547),
รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟานฟลีต(วันวลิต), (กรุงเทพฯ : หจก. โชติวงศ์ปริ้นติ้ง,
2546), น. 13-14.
11 นิโกลาส์ แชรแวส, สันต์ ท. โกมลบุตร แปล, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมือง
แห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) (พระนคร: สำนักพิมพ์
ก้าวหน้า, 2506), น. 80.
การประชุมกลุมยอยที่ 2