Page 211 - kpi17968
P. 211
200
อย่างน้อยต้องรู้ว่าทำอไรได้หรือไม่ได้ในขอบเขตแค่ไหน การปกครอง
จึงเรียกร้องให้มีกฎเกณฑ์กติกาเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเรื่องของกฎหมายกับ
เรื่องของการปกครองจึงแยกกันแทบไม่ได้จนกลายเป็นว่า เมื่อมีการ
ปกครอง ก็ต้องมีกฎหมาย คือมีกฎเกณฑ์กติกาของสังคมหรือของ
ประเทศชาติ ที่พลเมืองจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม...หลักการพื้นฐาน
กฎหมายต้องมาจากธรรม ต้องชอบธรรม และต้องเพื่อธรรม” 8
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำนี้ไว้ว่า
“นิติธรรม (กฎ) น. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายที่บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้บังคับ
แห่งกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (อ. rule of law)”
ในสังคมประชาธิปไตยนั้น หากจะรักษาความสงบเรียบร้อยไปพร้อมๆ กับ
การอำนวยความยุติธรรมในหมู่ประชาชนอย่างเสมอภาคกัน และทำให้บังเกิดผล
อย่างยั่งยืนได้นั้น ไม่อาจกระทำได้โดยการใช้หรือคุกคามที่จะใช้กำลังโดย
เจ้าหน้าที่เพียงประการเดียว แต่ต้องขึ้นอยู่กับความรู้สึกและความเชื่อมั่นของ
ประชาชนว่า สถาบันการเมืองผู้สร้างกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อให้บุคคลเคารพ
และปฏิบัติตาม และยอมรับการลงโทษผู้ฝ่าฝืน มีสิทธิอัน “ชอบธรรม” ที่จะสร้าง
กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้ปกครองนั้น
ผู้เขียนได้อ่านทัศนะของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้
กล่าวปาฐกถาพิเศษ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558 เรื่อง “บริบทใหม่ของ
ประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย” ภายในงานสัมมนาวิชาการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2558 โดยมีเนื้อหาน่าสนใจที่สรุปรายงานโดย
ทีมข่าวการเงินหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ซึ่งท่านได้เสนอ “องค์ประกอบ 4 ประการ
ที่ขาดไม่ได้ในบริบทหรือบรรทัดฐานใหม่ของเส้นทางการพัฒนาประเทศไทย ที่นำ
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและทรงพลังองค์ประกอบในการเตรียมความพร้อม
8 พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), นิติศาสตร์แนวพุทธ พิมพ์ครั้งที่ 4, โครงการพัฒนา
ระบบกฎหมายไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมูลนิธิสถาบันกฎหมาย
อาญา พิมพ์เป็นธรรมทาน (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2542), น. 2-3
และ 12.
การประชุมกลุมยอยที่ 2