Page 207 - kpi17968
P. 207
196
แห่งรัฐ. (2) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ
เช่น การเมืองระหว่างประเทศได้แก่การดําเนินนโยบายระหว่างประเทศ.
(3) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่ง
การเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภา
ผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน.”
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ปรากฏคำว่า การเมืองอยู่ในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
4
ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งมีคำว่า การเมือง อยู่ 2 มาตรา ความว่า
“มาตรา 11 คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ 1
คือ
1. สอบไล่วิชาการเมืองได้ตามหลักสูตรซึ่งสภาจะได้ตั้งขึ้นไว้
.....
มาตรา 36 การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศเป็นหน้าที่ของ
กรรมการผู้แทนราษฎร และกรรมการอาจตั้งผู้แทนเพื่อการนี้ได้
การเจรจาได้ดำเนินไปประการใดให้กรรมการรายงานกราบบังคม
ทูลกษัตริย์ทรงทราบ
การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรีเป็นพระราชอำนาจของ
กษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการ
ราษฎร”
ต่อมาเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้วเสร็จ คือ รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 คำว่า การเมือง ปรากฏอยู่ในหมวด 1
5
พระมหากษัตริย์ มาตรา 11 ความว่า “มาตรา 11 พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้น
หม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือ
การเมือง”
4 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 166 วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
5 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 529 วันที่ 10 ธันวาคม 2475
การประชุมกลุมยอยที่ 2