Page 205 - kpi17968
P. 205
194
คำว่า “วัฒนธรรม” พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์-
ประพันธ์ ปราชญ์คนสำคัญท่านหนึ่งของไทย ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทั้งใน
และต่างประเทศ เช่น ประธานสมัชชาในสมัยประชุมครั้งที่ 11 สหประชาชาติ,
เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน นายกราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ เป็นผู้ทรง
บัญญัติศัพท์คำนี้ โดยทรงอธิบายไว้ว่า “วัฒนธรรม คำว่า วัฒนธรรม นี้ได้ผูกขึ้น
เพื่อให้มีความหมายตรงกับคำว่า culture ตรงมูลศัพท์หมายความว่า ‘เพาะปลูก
ได้งอกงาม’ เป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงาม ซึ่งเปรียบได้กับการเพาะปลูก
พันธุ์ไม้ให้งอกงาม ผลิดอกออกผลเพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ในอันจะใช้ให้เป็น
1
ประโยชน์แก่ตน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความ
หมายไว้ว่า “วัฒนธรรม น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น
วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรม
พื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.”
คำว่าการเมืองนี้ มีความเป็นมาที่น่าสนใจว่าได้ปรากฏหลักฐานคำดังกล่าว
ในอดีตอย่างไร ตามกฎมณเฑียรบาลโบราณ ที่ปรากฏหลักฐานว่าได้ตราขึ้นเมื่อ
จุลศักราช 720 วันเสาร์เดือนห้าขึ้นหกค่ำ ปีชวด มีคำนี้อยู่สองแห่ง คือ ใน
2
พระราชกิจของพระมหากษัตริย์ มีความว่า
1 วิทยทัศน์พระองค์วรรณฯ, (กรุงเทพฯ : มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ, 2544),
น. 287.
2 คณะวิจัยกฎหมายตราสามดวง : ประมวลกฎหมายไทยในฐานะมรดกโลก ในความ
สนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งมี ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้า
โครงการฯ เคยให้ความเห็นว่าปีจุลศักราช 720 ตามหลักฐานไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะตกในปี
พุทธศักราช 1901 ในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แต่ในบานแผนกได้ระบุว่า
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้ตั้งกฎมณเทียรบาลในที่นี้คือ สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถฯ
อีกประการหนึ่ง จุลศักราช 720 มิได้ตรงกับปีชวด แต่ตรงกับปีจอ สำหรับปีที่น่าจะถูกต้อง
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า ควรเป็นปีจุลศักราช 830 เพราะเป็นปีชวด
เดียวในรัชกาลนี้ที่สอดคล้องกับลูกวันที่ให้ไว้ คือ วันเสาร์ เดือน 5 ขึ้น 6 ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ที่
18 มีนาคม พุทธศักราช 2011
การประชุมกลุมยอยที่ 2