Page 206 - kpi17968
P. 206

195




                           “...ค่ำแล้วทุ่ม 1 เบีกนอกพิภากษาการศึก 2 ทุ่มพิภากษาการเมือง

                         สามทุ่มพิภากษาเนื้อคดีโบราณ 4 ทุ่มเรียกพระกยาเสวย 5 ทุ่ม
                         เบีกโหรราชบัณฑิตยสนทนาธรรม 6 ทุ่มเบีกเสภาดนตรี 7 ทุ่ม
                         เบีกนิยาย 8 ทุ่ม 9 ทุ่มเข้าพระบันทมหาประถมตีนม่าน…”


                         คำว่า “พิภากษา” ในที่นี้หมายความว่า พิจารณา จึงอธิบายความได้ว่าใน
                   การประกอบพระราชกิจประจำวันของพระมหากษัตริย์ไทยครั้งโบราณ กำหนดไว้

                   ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งเป็นระเบียบการปกครองในราชสำนัก กล่าวคือในแต่ละช่วง
                   เวลาของวัน พระมหากษัตริย์จะทรงพิจารณาเรื่องใดบ้าง โดยกำหนดว่า ในเวลา
                   ระหว่าง 20 – 21 นาฬิกาของทุกวัน เป็นช่วงเวลาของการพิจารณา “การเมือง”

                   ซึ่งหมายถึงกิจการบ้านเมือง


                         การใช้คำว่า การเมือง ที่ปรากฏเป็นตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
                   การถวายการอภิบาลพระราชโอรสพระราชธิดาและพระเจ้าหลานเธอ อันเป็น
                   กิจการภายในราชสำนัก ดังความว่า


                         “อนึ่งพระผู้เปนเจ้าดำเนีรพระราชโองการ จัดแจงพระราชทานชแม่
                         ให้พยาบาลเลี้ยงพระราชกุมารพระราชบุตรีพระราชนัดดา ให้พระราชบุตร
                         ท่านรู้โดยสุภาพจึ่งชอบโดยการเมืองท่าน ถ้าชแม่เหนว่าพระราชกุมาร

                         พระราชบุตรีพระราชนัดดา ชแม่พระสนมทำผิดในพระราชถาน ให้ชแม่
                         กราบบังคมทูลแก่พระเจ้าอยู่หัว ...” 3


                         คำว่า โดยสุภาพ ในความตอนนี้ หมายความว่า กระทำหน้าที่ด้วยดีหรือ
                   ด้วยความเรียบร้อย ส่วนคำว่า การเมือง ผู้เขียนเห็นว่า เป็นความหมายเดียวกัน

                   กับตัวอย่างแรก คือ หมายถึงกิจการบ้านเมือง

                         สำหรับคำว่า “การเมือง” ในปัจจุบัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

                   พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า “การเมือง น. (1) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน
                   เช่น วิชาการเมือง ได้แก่ วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการ


                       3   ราชบัณฑิตยสถาน, กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2, (กรุงเทพฯ:
                   บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2550), น. 147.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211