Page 210 - kpi17968
P. 210

199




                         ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำอธิบายความหมายของการเมืองแบบไทยๆ ได้ดีและ

                   อ่านเมื่อใดก็รู้สึกว่ายังทันสมัย


                         ถัดมาคือคำว่า “หลักนิติธรรม” ซึ่งนักกฎหมายทั่วไปทราบดีว่ามาจากภาษา
                   อังกฤษว่า “The Rule of Law” มีการถกเถียงและแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง
                   และหลากหลายมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า “หลักนิติธรรม” คำนี้ควรให้
                   ความหมายเช่นไร มีบทความและตำราจำนวนมากทั้งของไทยและต่างประเทศ

                   ได้กล่าวถึงและอธิบายความหมายของคำนี้ ซึ่งตามความเข้าใจของผู้เขียน
                   หลักนิติธรรม เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการเมืองการปกครองของทุกรัฐหรือประเทศ

                   ที่ต้องดำเนินการทุกสิ่งทางการเมืองการปกครองภายใต้กฎหมายของประเทศ
                   รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้จริงตาม
                   กฎหมายภายใต้หลักนิติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
                   ผู้พิพากษาตุลาการ พนักงานอัยการ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และ

                   พนักงานอื่นใดในกระบวนการยุติธรรมต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมาย
                   ให้บังเกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายนั้นๆ ภายใต้หลักนิติธรรมโดย
                   ปราศจากอคติทั้งปวงโดยไม่ต้องเกรงกลัว หรือโดยปราศจากความลำเอียงเข้าข้าง

                   รัฐบาลหรือพรรคการเมืองใด และท้ายที่สุดนักกฎหมายทั้งปวงต้องยืนหยัดรักษา
                   วิชาชีพของตนไว้ภายใต้หลักนิติธรรม เพื่อป้องกันและรักษาสิทธิของประชาชน
                   ทั้งหลายไว้ให้จงได้


                         หลักการนี้จะแปลว่า หลักธรรมของนิติศาสตร์ก็ว่าได้ และผู้เขียนขอกล่าวถึง
                   ความหมายของคำว่า นิติศาสตร์ ตามที่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

                   หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา “ป.อ. ปยุตฺโต”  เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็น
                   พระธรรมปิฎก ได้เคยอธิบาย ถึงความสำคัญและความหมายในรากศัพท์ของคำว่า
                   “นิติศาสตร์” ไว้ในหนังสือเรื่อง “นิติศาสตร์แนวพุทธ” ว่า


                            “นิติศาสตร์ แปลว่า ศาสตร์แห่งการนำ หรือจัดดำเนินการ ซึ่งอาจ

                       ขยายความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งการนำคน หรือการนำกิจการของรัฐ
                       หรือการทำหน้าที่ของผู้นำ...การที่จะทำการปกครองหรือเป็นผู้นำประเทศ
                       ชาติได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องมีระเบียบแบบแผน คือเราต้องมีเครื่องมือ
                       ที่ใช้เป็นกติกาสังคม การปกครองจะเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์กติกา





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215