Page 209 - kpi17968
P. 209
198
คนสำคัญอีกท่านหนึ่งเคยอธิบายไว้อย่างน่าฟังในนวนิยายอมตะเรื่องสี่แผ่นดิน
ซึ่งท่านเป็นผู้แต่งและผูกเรื่องว่าเมื่อเกิดเหตุความเห็นขัดแย้งกันทำให้มีความ
บาดหมางครั้งใหญ่ในครอบครัวของแม่พลอยตัวเอกของเรื่อง ระหว่างลูกชายคนโต
กับคนที่สองอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลูกชายคนที่สามซึ่งจบ
การศึกษาจากประเทศอังกฤษได้พยายามอธิบายให้แม่ฟังว่า
“...แต่ก่อนนี้ เมืองไทยเราไม่มีการเมือง ทุกคนก็ได้แต่ตั้งหน้า
ทำงานโดยเฉพาะของตน ใครมีหน้าที่อะไรใครก็ทำไป ความคิดความเห็น
ที่จะมี ก็มีเพียงในกรอบของการงาน...ทั้งสองคนไม่มีวันที่จะขัดกันได้
เพราะทางที่จะใช้ความคิดเห็นเป็นคนละแนวกัน แต่เดี๋ยวนี้...มีทางที่จะใช้
ความคิดเห็นกว้างขวางกว่าแต่ก่อนมาก คือใช้ความเห็นเกี่ยวกับการเมือง
ได้ เมื่อทั้งสองคนใช้ความคิดเห็นในเรื่องเดียวกัน มิใช่คนละแนวอย่าง
แต่ก่อน ถ้าความคิดนั้นตรงกันก็ดีไป ถ้าไม่ตรงกันก็เกิดเรื่อง...ถ้าจะให้ลูก
บอกให้รวบรัดได้ความว่า การเมืองคืออะไร ลูกก็บอกไม่ถูกเพราะ
การเมือง เป็นของกว้างขวางเสียเกินกว่าจะจะรวบรัดให้เข้ามาอยู่ในขอบ
ของถ้อยคำเพียงสองสามคำได้...ถ้าจะพูดในแง่ดี การเมืองก็ทำให้คนได้มี
ความคิดความเห็นกว้างขวาง ทำให้คนได้มีจิตใจสูง มีมานะบากบั่น
อดทนต่อความทุกข์ และเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย
ปลายทางที่ตนเห็นว่าถูก การเมืองจะทำให้ตนได้พอใจว่า ตนได้เกิดมา
แล้วไม่เสียชาติเกิด ทำให้รู้สึกว่าตนได้เกิดมาเป็นคนโดยสมบูรณ์เป็น
นายตัวเอง บังคับตัวเอง ไม่มีเจ้านายอื่นมาคอยบังคับ มองทางด้านดี
การเมืองก็เป็นของที่ดีหนักดีหนาทีเดียว แต่ถ้าจะมองแง่ร้าย การเมือง
ก็น่ากลัวอยู่ เพราะการเมืองต้องทำให้คนรบราฆ่าฟันกัน ทำให้พ่อทะเลาะ
กับลูก ผัววิวาทกับเมีย พี่ทะเลาะกับน้อง การเมืองทำให้เกิดการต่อสู้
ระหว่างคนกับคน อาจทำให้เกิดบาดหมาง อาฆาตพยาบาทกันไปตลอด
ชีวิต บางเวลาการเมืองก็หามิตรให้ได้มาก แต่บางครั้ง การเมืองก็อาจ
ทำให้เราเสียมิตรไปจนหมด ตลอดตนทำให้ต้องเสียทรัพย์สมบัติ คิดคุก
ติดตะรางสิ้นเนื้อประดาตัว...”
7
7 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, สี่แผ่นดิน แผ่นดินที่ 3, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
สยามรัฐ, 2531), น. 873-874.
การประชุมกลุมยอยที่ 2