Page 214 - kpi17968
P. 214

203




                   ชำระขั้นสุดท้ายด้วยพระองค์เอง ให้พนักงานอาลักษณ์จารึกเขียนไว้เป็น

                   3 ฉบับ หรือ 3 ชุด ชุดละ 41 เล่มประกอบด้วยพระอัยการฉบับต่าง ๆ เริ่มต้น
                   จาก พระธรรมศาสตร์ หลักอินทภาษ พระธรรมนูญ พระอัยการลักษณะรับฟ้อง
                   ฯลฯ เขียนด้วยหมึกบนสมุดข่อยสีขาว 3 ชุดแรกนี้เป็นต้นฉบับแท้ เรียกว่า

                   ฉบับหลวง ตรวจชำระแล้วเสร็จเมื่อ จ.ศ. 1166 หรือ พ.ศ. 2347 เก็บไว้ใกล้ชิด
                   พระองค์คือห้องเครื่อง 1 ชุดไว้ที่หอหลวง 1 ชุดและไว้ที่ศาลหลวงอีก 1 ชุด
                   กฎหมายที่ชำระจัดทำใหม่นี้ ทรงให้ปิดดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และ

                   บัวแก้ว ไว้บนปกทุกเล่มเป็นสำคัญ ทรงกำชับว่าต่อไปหากมีการอ้างใช้ตัวบท
                   กฎหมายใดๆ ในการพิจารณาพิพากษาคดี หากกฎหมายที่อ้างไม่มีตราทั้งสามดวงนี้
                   อย่าให้ผู้ใดเชื่อฟังเป็นอันขาด จึงเป็นที่มาของชื่อกฎหมายนี้ที่เรียกกันว่า กฎหมาย

                   ตราสามดวง ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น ประมวลกฎหมายฉบับแรกแห่งสมัย
                   รัตนโกสินทร์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1”


                         ดวงตราทั้งสามที่ประทับไว้ในกฎหมายตราสามดวงคือ ตราพระราชสีห์ของ
                   เจ้าพญาจักรี ผู้เป็นใหญ่ในฝ่ายมหาดไทย ปัจจุบันยังเป็นดวงตราประจำกระทรวง
                   มหาดไทย ตราพระคชสีห์ของเจ้าพระยามหาเสนา ผู้เป็นใหญ่ในฝ่ายกลาโหม

                   ปัจจุบันยังเป็นดวงตราประจำกระทรวงกลาโหม ส่วนตราบัวแก้วของเจ้าพญา
                   พระคลังผู้เป็นใหญ่ในกรมท่ารับผิดชอบทั้งการคลัง การค้าขายและการติดต่อกับ
                   การต่างประเทศ ปัจจุบันตราบัวแก้วเป็นตราประจำกระทรวงการต่างประเทศ


                         ความเชื่อมั่นของผู้เขียนในเรื่องความดีมีคุณค่าของกฎหมายไทยโบราณนี้
                   มิได้เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย หรือคิดไปเองโดยปราศจากหลักฐาน และ

                   ขออ้างอิงหลักฐานที่เป็นเอกสารจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในอดีตในช่วงเวลา
                   ต่างๆ ที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขาย หรือติดต่อทางการทูต หรือเพื่อเผยแผ่ศาสนา ซึ่ง
                   บันทึกนักจดหมายเหตุชาวตะวันตกหลายต่อหลายคน ต่างบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

                   ต้องตรงกันโดยกล่าวชมกฎหมายของไทยและตำหนิผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไว้
                   ทั้งสิ้น เช่น เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) ชาวฮอลันดาที่เข้ามาใน
                   พระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2176 ถึง พ.ศ. 2185 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า

                   ปราสาททอง เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุที่นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายรู้จักดี
                   ในชื่อ หนังสือจดหมายเหตุฟาน ฟลีต ซึ่งบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้หลายเรื่อง
                   ในเรื่อง พรรณนาเรื่องอาณาจักรกรุงสยาม มีความตอนหนึ่งที่ใช้หัวข้อว่า




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219