Page 230 - kpi17968
P. 230
219
เห็นด้วยทุกอย่างกับแผน และอยากให้ความฝันตามแผนกลายเป็นความจริงใน
อนาคตที่ไม่ไกลนัก ข้อความตอนท้ายสุดของมาตรา 27 นี้หากพิเคราะห์ให้
ถ่องแท้ ความที่ผู้เขียนขีดเส้นใต้เน้นไว้
“เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้ง
ที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถ
ให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้
กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม”
จะเห็นว่าสาระสำคัญมิได้แตกต่างกับความเห็นที่สังฆราชปาลเลกัวซ์ได้เคย
กล่าวชมกฎหมายตราสามดวงไว้ ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วข้างต้นและขอกล่าว
ซ้ำอีกครั้งที่ว่า “...ข้าพเจ้าได้อ่านประมวลกฎหมายทั้งหมดแล้ว เห็นว่าส่วนใหญ่มี
ความเหมาะสมมาก สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติและปรับเข้าได้กับอุปนิสัย และ
ขนบประเพณีของประชาชาติที่สร้างกฎหมายนี้ขึ้น...” ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่าง
ยิ่งว่ากฎหมายที่ดีสำหรับสังคมใดต้องเป็นกฎหมายที่เหมาะสมกับทุกมิติทางสังคม
ทางเศรษฐกิจ และทางการเมืองของประชาชนทั้งปวงในสังคมนั้น และต้องมีกลไก
ที่สามารถสั่งการ รวมทั้งกำกับ ติดตามให้ผลทางปฏิบัติให้มีการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง
ผู้เขียนใคร่ขอเล่าเรื่องราวเก่าเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาตามพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้
ฟังสักเล็กน้อยกล่าวคือ เดิมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่
จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในเดือน
เมษายน พ.ศ. 2475 โดยทรงมอบหมายให้นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์
(Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศ กับพระยา
ศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลอง ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์
ต่างๆ ของร่างรัฐธรรมนูญโดยจัดทำเป็น ร่างภาษาอังกฤษในชื่อว่า An Outline of
Changes in the Form of Government ซึ่งผู้ร่างทั้งสองได้มีบันทึกความเห็นของ
การประชุมกลุมยอยที่ 2