Page 231 - kpi17968
P. 231
220
ตนกราบบังคมทูลประกอบร่างด้วยว่ายังไม่ถึงเวลาอันเหมาะสมที่จะมีการประกาศ
ใช้จนกว่าประชาชนจะมีการศึกษาและประสบการณ์ในการปกครองตนเองอย่าง
เพียงพอเสียก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งร่างรัฐธรรมนูญ
ประกอบความเห็นดังกล่าวให้อภิรัฐมนตรีพิจารณาและเป็นที่เข้าใจว่าอภิรัฐมนตรี
ยังไม่เห็นชอบด้วยเช่นกัน จึงไม่มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในพระราชพิธี
ฉลองพระนครครบ 150 ปีดังมีพระราชดำริไว้ได้
ตามหลักฐานเกี่ยวกับการที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะปรับปรุงการศึกษา
ของชาติใหม่เพื่อสอนประชาชนรู้จักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่าง
ถูกต้องนั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
(พระองค์เจ้าธานีนิวัต) เสนาบดีกระทรวงธรรมการดำเนินงาน นอกจากพระองค์
เจ้าธานีนิวัตทรงนำบันทึกโครงการศึกษาของชาติถวายแล้วยังได้นำความเห็นและ
กรณีศึกษาของมุสโสลินีในประเทศอิตาลีทูลเกล้า ฯ ถวายด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแส ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2475
พระราชทานไว้ว่า
“interesting มาก. เขาสอนให้เด็กของเขานิยมการปกครองอย่าง
วิธีของ Fascism ได้ แต่เราจะสอนคนไทยให้นิยมการปกครองอย่าง
Absolute Monarchy ได้หรือ? ฉันสงสัยมาก เพราะถ้าทำเดี๋ยวนี้ มันช้า
เกินไปเสียแล้ว.... เมืองเราใช้วิธีการปกครองอย่าง Dictator แต่ไม่ใช้วิธี
การอื่นๆ ของ Dictator กลับใช้ลักษณะการของ Democracy หลายอย่าง
จึงเป็นการครึ่งๆ กลางๆ และยังไม่ตกลงใจกันจริงๆ ว่าจะเอาอย่างไรด้วย.
ถ้าจะไม่ใช้แบบ Democracy ก็กลัวฝรั่งจะติเตียนว่า uncivilized. Italy
เขาไม่ต้องกลัว ใครจะด่าก็ช่าง. เมืองเราจะต้องตก between to stools
เพราะลังเลใจ... ถ้าทำไม่ได้ก็ควรเตรียมการนี้จะเปลี่ยนเป็น Constitutional
Monarchy โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และต้องให้การศึกษาไปทางนั้น
ละกระมัง? ” 20
20 สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, เอกสารรัชกาลที่ 7 ศ.1(1-26)/1 เล่ม 1
การประชุมกลุมยอยที่ 2