Page 250 - kpi17968
P. 250
239
เครือข่ายของชาวบ้านที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และประชาสังคมหลากหลายรูปแบบ
20
21
ของชาวบ้านและชนชั้นกลาง แสดงว่าคนหลากหลายกลุ่มในสังคมไทยได้เข้าสู่
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญแก่การรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจ
ต่อรอง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างมากในระหว่าง
กลุ่มต่างๆ เพราะอำนาจต่อรองที่คนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละเครือข่ายมีไม่เท่ากัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่ยังขาดการใช้หลักนิติธรรมที่จะทำให้คนทุกกลุ่ม
ได้รับหลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพอย่างเสมอภาคกัน
อนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสังคมที่คนกลุ่มต่างๆ มีทัศนะหรือ
อุดมการณ์ทางการเมืองและผลประโยชน์แตกต่างกัน ทำให้เกิดสภาวะ “วิกฤต
ความชอบธรรม” ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยใน
ปัจจุบัน ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2548 -
2558) เป็นตัวอย่างที่ดีของการปะทะกันระหว่างวิกฤติความชอบธรรมของอำนาจ
ทางการเมืองที่มีฐานที่มาแตกต่างกัน โดยฝ่าย “คนเสื้อแดง” มุ่งเน้นความชอบ
ธรรมของอำนาจทางการเมืองตามกฎหมายและหลักการของระบอบประชาธิปไตย
แบบเลือกตั้งหรือเสียงข้าง กับฝ่าย “คนเสื้อเหลือง” ที่เน้นความชอบธรรมของ
อำนาจทางการเมืองตามหลักศีลธรรม คือเน้นให้เลือก “คนดี” เป็นผู้ปกครอง
ถึงแม้ว่าทั้งสองฝ่าย จะมิได้ปฏิเสธความชอบธรรมของอีกฝ่ายอย่างสิ้นเชิง คือฝ่าย
ที่สนับสนุนกฎหมายก็ไม่ได้ปฏิเสธศีลธรรมไปเสียทีเดียว และฝ่ายที่สนับสนุน
ศีลธรรมก็หาได้ปฏิเสธหลักนิติธรรมอย่างสิ้นเชิง แต่ในหลายครั้งก็เกิดการละเลย
ที่จะพิจารณาประเด็นปัญหาที่อีกฝ่ายหนึ่งหยิบยกขึ้นมา เช่น ฝ่ายที่อ้างกฎหมาย
20 โปรดดูการสร้างเครือข่ายของชาวบ้านในตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย (ซึ่งสะท้อน
เครือข่ายในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในเขตชนบทของจังหวัดอื่นๆ) ใน ปฐมพงศ์ มโนหาญ
“การเมืองเรื่องการเลือกตั้งบนวิถีการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท (2520-2554) : กรณีศึกษา
ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชา
ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
21 โปรดดู โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, “ประชาสังคม: มิติใหม่ของการเมืองสาธารณะ” ใน
สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ (บรรณาธิการ), ประชาสังคมกับการพัฒนาสุขภาพ, กรุงเทพฯ:
โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2540. และทศพล สมพงษ์, พัฒนาการและการ
พัฒนาประชาสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
การประชุมกลุมยอยที่ 2