Page 251 - kpi17968
P. 251
240
และเสียงส่วนใหญ่บางครั้งก็ยอมหลับตาลงข้างหนึ่งให้กับการกระทำที่ผิดศีลธรรม
เช่น การฆ่าตัดตอนในคดียาเสพติด หรือการคอร์รัปชั่น (เชิงนโยบาย) ในขณะที่
ฝ่ายที่สนับสนุนศีลธรรมบางครั้งก็หันหลังให้กับรัฐธรรมนูญ เช่น การสนับสนุน
22
การรัฐประหาร หรือการปฏิเสธการเลือกตั้ง แม้แต่ในเรื่องจำนำข้าว ก็มีฝ่ายที่
เห็นว่ารัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะมีอำนาจต่อไปเพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการ
เลือกตั้งและดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวตามที่เคยหาเสียงเอาไว้เพื่อช่วยเหลือ
คนจน แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าความเสียหายมูลค่ามหาศาลอันเกิดจากนโยบาย
ประชานิยมเพื่อแลกกับคะแนนเสียงในการเลือกตั้งโดยขาดความรับผิดชอบต่อ
ปัญหาทางการคลังที่จะตามมา ทำให้รัฐบาลสูญเสียความชอบธรรมและควรแสดง
ความรับผิดชอบด้วยการลาออก พฤติกรรมและทัศนะของทั้งสองฝ่ายล้วนแต่
แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังขาดความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับเกณฑ์ชี้วัด
ความชอบธรรมทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองที่ยึดหลักนิติธรรมใน
ประเทศไทยยังคงอ่อนแอ
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยมีการ “เลือกข้าง” ดังกล่าวข้างต้น
นี้ ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันสำคัญๆ ในระบอบประชาธิปไตย
อยู่ในระดับต่ำมาก ผลการสำรวจของ “มูลนิธิเอเชีย” ใน พ.ศ. 2553 พบว่า
มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 11 (ตามลำดับ) เท่านั้น ที่เชื่อว่า
สถาบันสื่อและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีความซื่อตรง “สูง” แต่มีถึง
ร้อยละ 85 และร้อยละ 88 (ตามลำดับ) ที่แสดงความไม่เชื่อมั่น สถาบันตำรวจ
ก็ได้รับคะแนนความซื่อตรงต่ำมากเช่นกัน คือร้อยละ 17 ส่วนศาลหรือตุลาการ
นั้น แม้ว่าผลการสำรวจจะแสดงว่ายังคงได้รับความเชื่อถือในความซื่อตรงสูงที่สุด
แต่ก็ได้รับความเชื่อถือเพียงร้อยละ 59 เท่านั้น อีกทั้งความน่าเชื่อถือของศาลยัง
ลดต่ำลงมากเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี พ.ศ.2552 ซึ่งศาลได้รับความน่าเชื่อ
23
ถือถึงร้อยละ 64 การที่ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นในสถาบันสำคัญใน
22 สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ, คำและแนวคิดในประชำธิปไตยสมัยใหม่,
(อ้างแล้ว), หน้า 110.
23 ผลสำรวจชี้คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ “เสื้อสี” แต่ “เหลือง-แดง” อาจถึง 10 ล้านคน อึ้ง
ประชาชนไม่เชื่อใจ “สื่อ”, (28 มีนาคม 2554), จาก http://www.matichon.co.th/news_
detail.php?newsid=1301316008&grpid=01&catid=01.
การประชุมกลุมยอยที่ 2