Page 252 - kpi17968
P. 252
241
ระบอบประชาธิปไตยทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ศาล ตำรวจ และสื่อ เช่นนี้ นับเป็น
ปัญหาวิกฤตทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง เพราะสถาบันทั้งสามนี้ล้วนแล้วแต่มีบทบาท
โดยตรงต่อการใช้หลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตย
อาจกล่าวได้ว่าความขัดแย้งของวัฒนธรรมความคิดและวัฒนธรรมทาง
การเมืองระหว่าง “คนเสื้อเหลือง” กับ “คนเสื้อแดง” ซึ่งนิยามความหมาย
ประชาธิปไตยและมีเกณฑ์ความชอบธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละ
ฝ่ายต่างก็หันไปใช้วิธีการที่ขัดต่อหลักนิติธรรมมากบ้างน้อยบ้าง และขณะเดียวกัน
ก็ไม่สนับสนุนสิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวที่ชอบด้วยหลักนิติธรรมของฝ่าย
ตรงกันข้าม ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการใช้หลักนิติธรรมใน
สังคมการเมืองไทย และตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน “คนเสื้อเหลือง” หรือชนชั้น
กลางเดิมในสังคมไทยก็ยังคงต้องการการปกครองโดย “คนดี” ซึ่งเป็นโลกทัศน์
แบบจารีตของไทย มากกว่าจะยอมรับการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ เพราะเห็น
24
ว่าเสียงส่วนใหญ่ทำให้นักการเมืองมีโอกาสครอบครองอำนาจแบบเผด็จการและ
ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล ซึ่งวิธีคิดของ “คนเสื้อเหลือง” เช่นนี้ฝ่าย “คนเสื้อแดง”
ไม่สามารถยอมรับได้ ปัญญาชนของ “คนเสื้อแดง” คนหนึ่งเน้นว่า หลักนิติรัฐ
และนิติธรรมนั้น “ไม่ต้องการให้มนุษย์ปกครองมนุษย์ด้วยกันเอง แต่ต้องการ
ให้กฎหมายเป็นผู้ปกครองมนุษย์” ความชอบธรรมที่มาจากการเป็น “คนดี”
25
จึงไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในทัศนะของ “คนเสื้อแดง” ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหา
วิกฤตความชอบธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การใช้หลักนิติธรรม (ในความหมาย
ที่กว้างกว่าการปกครองด้วยกฎหมายที่เข้มงวด - โปรดดูนิยามของอานันท์
ปันยารชุน ที่กล่าวแล้วข้างต้น) จึงเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยให้คนทุกกลุ่มใน
สังคมไทยมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องความชอบธรรมได้ในที่สุด
24 โปรดดูลักษณะของ “การปกครองแบบไทย” ใน สายชล สัตยานุรักษ์, คึกฤทธิ์กับ
ประดิษฐกรรม “ความเป็นไทย”, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.
25 วรเจตน์ ภาคีรัตน์,, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม”, (31 มกราคม 2553), จาก http://
www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1431).
การประชุมกลุมยอยที่ 2