Page 253 - kpi17968
P. 253

242




                ั นธรรม า การ ม   ไ ย    ป น  ป รร ต  การ ช หลักนิติธรรม



                     แม้ว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมทางการเมืองไทยจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
               แล้ว แต่การที่คนไทยแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายยังคงมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ขัดกับ
               หลักนิติธรรมอยู่ไม่น้อยดังได้กล่าวมาแล้ว จึงเห็นควรวิเคราะห์วัฒนธรรมทาง

               การเมืองไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักนิติธรรมโดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางใน
               การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยให้เอื้อต่อการใช้

               หลักนิติธรรมในอนาคต


                1. ปัญหาวัฒนธรรมทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย


                     วัฒนธรรมทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทยมีปัญหาหลาย
               ประการที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวัฒนธรรมการเมืองที่ไม่เอื้อต่อการยึดมั่นในหลัก
               นิติธรรม ปัญหาเหล่านี้เป็นมรดกที่ตกทอดมาจากอดีตและยังไม่ได้รับการปรับ

               เปลี่ยนเท่าที่ควร

                     ในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของไทยยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย

               ที่สำคัญก็คือการที่รัฐธรรมนูญซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดนั้นยังไม่มีผลบังคับ
               ใช้อย่างแท้จริง เป็นต้นว่าในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมารัฐธรรมนูญได้รับการ

               ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมรวมทั้งกระแสภูมิปัญญาและ
               วัฒนธรรมใหม่ๆ ในหลายเรื่องด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับปรากฏว่ากฎหมาย
               ที่มีสถานะเป็นรอง เช่น พระราชบัญญัติ มีผลบังคับใช้จริงเหนือรัฐธรรมนูญ


                     กรณีที่เห็นได้ชัดก็คือ การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญภายใต้หลักการ
               “สิทธิชุมชน” ในการปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในเขตเมือง
               อุตสาหกรรม (หรือที่เรียกว่าภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม)  ปรากฏว่าการ

               ปฏิบัติการของประชาชนโดยอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำได้เนื่องจากมี
               การใช้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติคือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

               สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่ทำให้แกนนำการคัดค้านการทำลายสิ่งแวดล้อมต้องถูก
               จับกุมโดยกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา ส่งผลให้ขบวนการอนุรักษ์ฯ ขาด
               แนวร่วมและอ่อนแรงลงในที่สุด





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258