Page 255 - kpi17968
P. 255

244




               ความเป็นธรรมพื้นฐานของสังคม กฎหมายกลายเป็นเรื่องของ trick หรือกลเม็ด

               ขึ้นอยู่กับความสามารถทางอักษรศาสตร์ของคนอ่านว่าจะพลิกผันให้เข้าทางได้
                       28
               อย่างไร”

                     ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อ
               การใช้หลักนิติธรรมก็คือปัญหา “ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย” กล่าวคือ การใช้
               หลักนิติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสามารถทำให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์อย่าง

               แท้จริงโดยทุกคนเคารพกฎหมาย ซึ่งผลการวิจัยที่สหรัฐอเมริกาพบว่า ปรกติแล้ว
               คนทั่วไปรวมทั้งผู้มีอำนาจจะเคารพกฎหมายก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นสอดคล้องกับ

               ศีลธรรมและระบบคุณค่าที่เขายึดถือและเป็นกฎหมายที่ชอบธรรมด้วย นอกจากนี้
               การเคารพกฎหมายยังขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่จะต้องรับโทษ ถ้าหากมีความเสี่ยง
                                               29
               มากคนก็จะเคารพกฎหมายมากขึ้น  หากนำผลการวิจัยดังกล่าวนี้มาพิจารณา
               สังคมไทยก็จะพบว่า ในสังคมไทยปัจจุบันทั้งศีลธรรมและระบบคุณค่าเปลี่ยนแปลง

               ไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เงินและอำนาจกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
               สำหรับการดำเนินชีวิตในวัฒนธรรมบริโภคนิยมและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ
               แบบทุนนิยม รวมทั้งการเลื่อนสถานภาพทางสังคมและการสร้างอัตลักษณ์ตาม

               ระบบคุณค่าใหม่ เช่น การเป็นคนที่ได้รับการยอมรับว่ามีความรู้ความสามารถสูง
               และประสบความสำเร็จในชีวิต การเป็นคนทันสมัย หรือมีรสนิยมดี ทำให้การ
               ละเมิดกฎหมายเพื่อเงินและอำนาจเกิดขึ้นทั่วไป ในขณะที่คนมีอำนาจก็มีความ

               เสี่ยงในการรับโทษทัณฑ์จากการทำผิดกฎหมายไม่มากนัก ดังนั้น จึงเป็นไปได้
               ยากที่ผู้มีอำนาจจะยึดหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้ “ความไม่ศักดิ์สิทธิ์
               ของกฎหมาย” ในการบังคับใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาคกันกลายเป็นอุปสรรคที่

               สำคัญมากประการหนึ่งของการใช้หลักนิติธรรมในสังคมไทย

                     ความลักลั่นของวัฒนธรรมทางกฎหมาย ที่มีการใช้กฎหมายอย่างไม่

               สอดคล้องกับหลักนิติธรรมดังตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นนี้นับเป็นปัจจัยสำคัญประการ
               หนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยขยายตัวขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคน


                  28   นิธิ เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมการอ่านกฎหมาย” ใน มุกหอม วงษ์เทศ (บรรณาธิการ),
               อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: มติชน, 2547, หน้า 199.
                  29   เรื่องเดียวกัน.





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260