Page 257 - kpi17968
P. 257

246




                     นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษา “นิติสำนึก” ของบุคคล โดยเลือกกรณี

               ศึกษาที่เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในจังหวัดเชียงใหม่ ที่แสดงว่าผู้ได้รับ
               ความเสียหายจากการถูกละเมิดไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบกฎหมายในการ
               เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่สอดคล้องกับ

               ปรากฏการณ์ทั่วไปในยุคโลกาภิวัตน์และในสังคมสมัยใหม่ซึ่ง “สิทธิ” จะเป็นที่
               ตระหนักถึง และการใช้กลไกทางกฎหมายในการปกป้องสิทธิขยายตัวมากขึ้น
               สภาวการณ์ที่ชาวบ้านในประเทศไทยไม่นิยมและไม่สามารถพึ่งระบบกฎหมายเช่น

               นี้ทำให้ชีวิตมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก  เพราะในปัจจุบันชุมชนของชาวบ้านมีบทบาท
               ต่อชีวิตน้อยลง และชาวบ้านควรจะได้รับการปกป้องจากกฎหมายเป็นการชดเชย
               แต่การณ์กลับปรากฏว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบกฎหมายไม่ได้เพิ่ม

               มากขึ้นแต่อย่างใด 31

                     ปัญหาจากระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้ประชาชน

               ส่วนใหญ่มี “นิติสำนึก” ในลักษณะที่กล่าวข้างต้น นอกจากจะส่งผลกระทบ
               ต่อความเป็นธรรมและความมั่นคงชีวิตของประชาชนแล้ว ยังทำให้ความสนใจ
               เกี่ยวกับการตรากฎหมายของสภานิติบัญญัติและการผลักดันให้เกิดการใช้หลัก

               นิติธรรมไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร


                     ปัญหาด้านวัฒนธรรมทางกฎหมายและวัฒนธรรมทางการเมืองนับเป็น
               ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบมี
               ส่วนร่วม ดังนั้น หากมีการใช้หลักนิติธรรมโดยมีการพัฒนาระบบกฎหมายและ
               กระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชน และ

               มีกลไกในการกำกับตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทุกระดับให้ยึดมั่นใน
               หลักนิติธรรมแล้ว ก็จะส่งผลให้ชีวิตของประชาชนมีความมั่นคงมากขึ้น และ
               พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ

               พร้อมที่จะกำกับดูแลให้เกิดการใช้หลักนิติธรรมอย่างแท้จริง


                  31   David M. Angel and Jaruwan S. Engel, Tort, Custom and Karma:
               Globalization and Legal Consciousness in Thailand, Chiang Mai: Silkworm Books,
               2010. และ สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “พรมแดนความรู้ของการศึกษากฎหมายแนวนิติสำนึกใน
               สังคมไทย” วารสารนิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1/2558 (มกราคม-มิถุนายน): 24-40.





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262