Page 262 - kpi17968
P. 262
251
ดูเหมือนทุกฝ่ายยอมรับ...ว่า ประเทศของเราต้องก้าวต่อไปใน
วิถีทางประชาธิปไตย แต่ที่เห็นไม่ตรงกันก็คือ ประชาธิปไตยมีนัยยะ
ในเชิงปฏิบัติการอย่างไรกันแน่
ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า เมื่อเป็นประชาธิปไตยอำนาจอธิปไตยต้องเป็นของ
ปวงชนอย่างเด็ดขาด จะมีอำนาจอื่นที่ไม่ได้มาจากอธิปไตยของปวงชน
เข้ามาแทรกหรือถ่วงดุลไม่ได้ และด้วยเหตุดังนั้น อำนาจทางการเมือง
จึงต้องถูกจัดสรรไปตามผลของการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว
อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การเมืองที่อาศัยการเลือกตั้งเป็นเกณฑ์เพียง
อย่างเดียวนี้อันตราย เพราะการเลือกตั้งย่อมต้องจัดองค์กรและกลไกเพื่อ
ผลสัมฤทธิ์แคบๆ คือได้รับคะแนนเสียง องค์กรและกลไกดังกล่าวไม่ได้มี
ไว้ตรวจสอบการใช้อำนาจ หรือมีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง ฉะนั้น
ผู้ที่ได้อำนาจไปจากองค์กรและกลไกเช่นนี้จึงมีแนวโน้มจะทุจริตต่อหน้าที่
และ/หรือไม่มีสมรรถภาพในการทำงาน
ด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องอิงอำนาจที่ไม่ได้มาจากอธิปไตยของปวงชน
ไว้คอยถ่วงดุลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง 38
ทัศนะที่ต่างกันยังปรากฏในเรื่องอื่นๆ อีกมาก เช่น ฝ่ายหนึ่งยอมรับ
ส.ว.สรรหา ตุลาการภิวัตน์ และการรัฐประหาร แต่อีกฝ่ายหนึ่งต่อต้าน หรือ
ในกรณีเกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มีความเห็นที่
ขัดแย้งกันมาก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า แม้พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ แต่
สถานะของพระองค์ในทางการเมืองย่อมเป็นประมุขหรือตัวแทนของอำนาจ
อธิปไตยของปวงชนในเชิงสัญลักษณ์ และพระองค์ทรงมีหน้าที่ในทางพิธีกรรมก็
ต่อเมื่อเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญต่อรัฐ “แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าพระมหากษัตริย์
ไทยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่เชื่อมโยงกับอธิปไตยของปวงชน
โดยตรง การใช้พระราชอำนาจนี้เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เอง
ว่าจะใช้เมื่อไรและอย่างไร และเพื่อธำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจนี้ จึงต้องรักษาความ
38 นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ปรองดองโดยประเด็น”, (16เมษายน 2555), สืบค้นเมื่อ 21
กันยายน 2558, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334585676.
การประชุมกลุมยอยที่ 2