Page 268 - kpi17968
P. 268
257
อำนาจเอาไว้” หรือ “นิยมระบอบเผด็จการ” ฯลฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็สะท้อนว่า
ทุกฝ่ายที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองล้วนแต่ให้คุณค่าแก่ระบอบประชาธิปไตย
และไม่นิยมระบอบเผด็จการทั้งสิ้น นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,500 คน โดยมูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation)
46
ระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2553 (หลังเหตุการณ์
ความรุนแรงที่ราชประสงค์ไม่นาน) ยังได้ข้อสรุปว่า ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม
ถึงร้อยละ 93 ที่มีความเห็นว่าประชาธิปไตยคือรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด
เช่นเดียวกับ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 97 เห็นว่า ถึงแม้คนไทยจะมีความ
47
แตกต่างกัน แต่ก็รวมตัวกันได้เพราะมีค่านิยมความเชื่อหลายประการเหมือนกัน
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ยอมรับผู้นำที่เข้มแข็งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 68 ใน พ.ศ.2552 เป็นร้อยละ 76 ใน พ.ศ.2553 48
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันหลักในระบอบ
ประชาธิปไตย แสดงว่าทุกสภาบันถูกตั้งข้อสงสัยในประเด็นความเป็นกลาง
กล่าวคือ มีประชาชนร้อยละ 63 เห็นว่าศาลเป็นกลางและไม่มีอคติ ร้อยละ 38
เห็นว่ากองทัพเป็นกลาง แต่ก็มีถึงร้อยละ 56 ที่เชื่อว่ากองทัพมีความลำเอียง
“เป็นบางครั้ง” หรือ “บ่อยครั้ง” ทั้งนี้ตำรวจได้รับการจัดอันดับความเป็นกลาง
ด้วยคะแนนต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 83 เชื่อว่าตำรวจมีความลำเอียง “บ่อยครั้ง”
หรือ “บางครั้ง” ส่วนสถาบันสื่อนั้นผู้ตอบแบบสอบถามมากถึงร้อยละ 80 มองว่า
มีความเอนเอียง 49
ข้อมูลการสำรวจทัศนคติทางการเมืองโดยมูลนิธิเอเชียข้างต้นนี้ บ่งชี้ว่า
ประชาชนมิได้ไร้เดียงสาทางการเมือง ผู้ประสานงานอาวุโสของมูลนิธิเอเชีย
46 โปรดดูเพิ่มเติมใน มูลนิธิเอเชียแถลงข่าวการสำรวจความคิดเห็นระดับประเทศ ประมวล
ทัศนะการเมืองระหว่าง “ขั้วสี” ที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นครั้งแรก, (28 มีนาคม 2554), จาก http://
www.thaibusinessnews.com/readnews.aspx?nid=6f2fbd732ab320f8dc1486247e367abd
47 ผลสำรวจชี้คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ “เสื้อสี” แต่ “เหลือง-แดง” อาจถึง 10 ล้านคน อึ้ง
ประชาชนไม่เชื่อใจ “สื่อ”, (28 มีนาคม 2554), (อ้างแล้ว) (เน้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน)
48 เรื่องเดียวกัน.
49 เรื่องเดียวกัน. (เน้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน)
การประชุมกลุมยอยที่ 2