Page 274 - kpi17968
P. 274

263




                         การยึดหลักนิติธรรมจะทำให้กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองรวมทั้ง

                   กระบวนการกำหนดนโยบายและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมีความ
                   โปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น ถ้าหากกระบวนการตัดสินใจดังกล่าวนี้ยังคงเป็นไป
                   โดยไม่ได้ยึดหลักกฎหมาย แต่เกิดขึ้นจากการตกลงกันในเครือข่ายผู้บริหารระดับ

                                                                          54
                   สูงที่เป็นชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ การเมืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ทรัพยากรที่รัฐ
                   บริหารจัดการก็จะสร้างผลประโยชน์ให้แก่เครือข่ายของชนชั้นนำเหล่านี้อย่าง
                   ไพศาล ทำให้ความเหลื่อมล้ำของรายได้และทรัพย์สินสูงขึ้น และความตึงเครียด

                   และความขัดแย้งในสังคมจะทวีขึ้นจนยากที่คนไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้
                   การแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ด้วยการทำให้หลักนิติธรรมเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย
                   จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน


                         เพื่อให้การยึดมั่นในหลักนิติธรรมเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทยอย่าง
                   มั่นคงและเข้มแข็งโดยเร็ว จำเป็นต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมการเมืองในระบอบ

                   ประชาธิปไตย โดยเริ่มต้นจากการเสริมพลังให้แก่วัฒนธรรมทางการเมืองที่กำลัง
                   ก้าวหน้าขึ้นและเป็นวัฒนธรรมที่เกื้อหนุนการใช้หลักนิติธรรม เช่น วัฒนธรรม
                   การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งเข้มแข็งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

                   ควรเป็นส่วนที่ได้รับการส่งเสริมจากทุกภาคส่วนในสังคมการเมืองไทยให้มีพลังสูง
                   ขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการกระจายอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ร่วม
                   กันปกครองตนเองและร่วมกันจัดการทรัพยากรในระดับต่างๆ ทั้งนี้ วัฒนธรรม

                   การเมืองไทยที่เอื้อต่อการใช้หลักนิติธรรมในอนาคต ควรเป็นวัฒนธรรม
                   ประชาธิปไตยในความหมายใหม่ และควรหาทางทำให้เกิดการประนีประนอมหรือ
                   การผสมผสานกันระหว่างระบอบ “เสรีประชาธิปไตย” แบบเลือกตั้ง (ที่ “คนเสื้อ

                   แดง” ให้ความสำคัญ) และระบอบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                   ประมุข” (ที่ “คนเสื้อเหลือง” ให้ความสำคัญ) รวมทั้งการเสริมสร้างกลไกสำหรับ
                   กำกับตรวจสอบผู้มีอำนาจทางการเมืองให้แข็งแรงขึ้น


                      54   มีงานวิจัยที่แสดงว่าหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงของสถาบันต่างๆ ได้สร้างกิจกรรมที่ทำให้
                   หลักสูตรเหล่านี้มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างเอกภาพและความเป็นปึกแผ่นให้แก่เครือข่าย
                   ดังกล่าวนี้ จนกลายเป็นเครือข่ายที่มั่นคงและมีอำนาจสูงนอกระบบการเมืองที่เป็นทางการ โปรดดู
                   นวลน้อย ตรีรัตน์ ภาคภูมิ วาณิชกะ. “เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษา
                   พิเศษ” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บรรณาธิการ), สู่สังคมไทยเสมอหน้า. กรุงเทพฯ: มติชน.
                   2558.



                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279