Page 279 - kpi17968
P. 279
268
ระบบกฎหมายของไทยรวมทั้งกฎหมายป่าไม้ของรัฐไม่สอดคล้องกับการจัดการ
“สิทธิชุมชน” เนื่องจากวัฒนธรรมทางกฎหมายของไทยวางอยู่บนพื้นฐานของ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากความสนใจในการใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นจริง
ในสังคม 60
อนึ่ง ผู้ที่ยึดหลักนิติธรรมที่มุ่งป้องกันรัฐละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชน มักให้ความสำคัญแต่เฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง ที่จริง
แล้วรัฐควรจะให้ความสำคัญต่อการป้องกันมิให้รัฐและกลุ่มทุนละเมิดสิทธิทาง
เศรษฐกิจของประชาชนด้วย เช่น จะต้องไม่ทำให้ชีวิตคนไทยเกิดความเสี่ยงทาง
เศรษฐกิจจากนโยบายประชานิยมในระดับที่ไร้วินัยทางการคลัง เพราะระบอบ
ประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองแข่งขันกันหาเสียงทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่
มุ่งเสนอนโยบายประชานิยม แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ที่เสนอโดยสมเกียรติ
ตั้งกิจวาณิชย์ คือการตรา “ธรรมนูญการคลัง” ขึ้นมา นอกจากนี้ยังควรหาทาง
ช่วยให้ฝ่ายค้านหรือฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐสภามีเครื่องมือหรือข้อมูลและความรู้
อย่างเพียงพอในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร เช่น การออก
พระราชบัญญัติจัดตั้ง “สำนักงบประมาณแห่งรัฐสภา” เพื่อสนับสนุนการพิจารณา
งบประมาณของรัฐสภาและช่วยป้องกันนโยบายประชานิยมที่ไร้วินัยทางการคลัง
ไปพร้อมกัน และในกรณีที่นโยบายหรือโครงการของรัฐบาลมีขนาดใหญ่ หรือมี
ความซับซ้อน ก็จำเป็นต้องอาศัยนักวิชาการมาช่วยศึกษาวิจัยโดยร่วมมือกับ
61
ประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งนักวิชาการและประชาชนจำเป็นต้องมีเสรีภาพ
ทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง โดยมีการยกเลิกกฎหมายทั้งหลายที่
จำกัดเสรีภาพในการสร้างและเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งมีการปฏิรูปสื่อและกฎหมาย
เพื่อให้นักวิชาการและประชาชนสามารถเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
โดยไม่ถูกกดดันหรือถูกขัดขวางจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน
60 นัทมน คงเจริญ, “การบังคับใช้สิทธิชุมชน: มองผ่านวัฒนธรรมทางกฎหมาย”, วารสาร
นิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1/2558 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 80-120.
61 สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์, “เศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้นโยบายประชานิยม” ใน
แสงสว่างกลางอุโมงค์: หลากหลายความคิดวิเคราะห์อนาคตสังคมการ, (อ้างแล้ว), หน้า 83.
การประชุมกลุมยอยที่ 2