Page 284 - kpi17968
P. 284

273




                       ข้อเรียกร้องได้ พลังที่เข้มแข็งที่สุดของแนวนโยบายสังคมประชาธิปไตย

                       ในประเทศทุนนิยม เป็นเรื่องสวัสดิการน้อยกว่าการประกันสิทธิการต่อสู้
                       ของคนงาน เขาให้หลักประกันว่าคนงานสามารถจัดตั้งสหภาพแล้วต่อสู้
                       ต่อรองกับนายทุนได้ กฎหมายคุ้มครอง...


                            เรื่องที่ 3 เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่คนทุกชั้นเดือดร้อน แม้แต่
                       คนชั้นกลางที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากกว่าพี่น้องคนจนก็รับรู้ได้ว่า

                       ตอนนี้อากาศแปรปรวน กรุงเทพฯ ทำท่าจะแผ่นดินทรุด น้ำท่วม

                            ทำอย่างไรจะผนวกเอาข้อเรียกร้องเหล่านี้เข้ามาเป็นธงในเครือข่าย

                       ใหม่... ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถขยายเครือข่ายได้” 69


                     3. การปฏิรูประบบการเรียนรู้เพื่อสร้างพลังทางปัญญาของสังคม


                         การเสริมสร้างพลังทางปัญญาของสังคมอาจทำได้ด้วยการปฏิรูป “ระบบ
                   การเรียนรู้” ในสังคมไทยโดยการปฏิรูประบบการศึกษาของเยาวชน นักศึกษา ครู

                   ทหาร พระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวนี้จะบรรลุผล
                   ได้ก็ต่อเมื่อกระทรวงศึกษาธิการเลิกใช้ระบบการศึกษาเป็นกลไกสำหรับครอบงำวิธี
                   คิดของคนไทย แล้วกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาออกไปสู่ท้องถิ่น พร้อมกับ

                   ปฏิรูปสื่อมวลชน โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางความคิดที่ให้ความ
                   สำคัญแก่ความสามารถในการคิดเองแทนการคิดในกรอบที่รัฐกำหนด และแทน
                   การเชื่อฟัง “ผู้ใหญ่” ที่มีอำนาจมากกว่าโดยปราศจากการตั้งคำถามหรือข้อสงสัย

                   จากมุมมองที่แตกต่าง และการศึกษาควรให้ความสำคัญแก่การสร้างวัฒนธรรม
                   ทางการเมืองแบบใหม่ เช่น การให้ความสำคัญแก่ “ผู้นำ” น้อยลง เห็นคุณค่าและ
                   ความสำคัญของประชาชนมากขึ้น เกิดการยอมรับอย่างแท้จริงว่าอำนาจอธิปไตย

                   เป็นของประชาชน รวมทั้งเห็นความสำคัญของการค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของ

                      69   เกษียร เตชะพีระ, “รัฐสวัสดิการ สังคมประชาธิปไตย และนิเวศประชาธรรม” เรียบเรียง
                   จากปาฐกถา “สถานการณ์การต่อสู้ของขบวนคนจนภายใต้บริบทสังคมไทยในอนาคต”
                   ในงานรำลึก 100 วัน วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ 15 มีนาคม 2551 ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน
                   เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี, (31 มีนาคม 2551), จาก http://www.prachatai.com/05web/th/
                   home/11688.




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289