Page 283 - kpi17968
P. 283
272
เพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างและใช้กลไกหรือสถาบันใหม่ๆ ในระบอบ
ประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการเสริมพลังเช่นนี้อาจบรรลุผล
อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เพราะเงื่อนไขด้านวัฒนธรรมการเมืองเอื้ออำนวยมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าแม้แต่ในช่วงเวลาที่ชาวบ้านตกอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐแบบเดิม
ก็ยังเกิดการเคลื่อนไหวต่อรองกับกลไกอำนาจรัฐท้องถิ่นและส่วนกลางอย่าง
มากมาย การปฏิรูปสถาบันที่เป็นโครงสร้างอำนาจรัฐในวิถีทางที่เสริมความ
เข้มแข็งให้แก่อำนาจต่อรองของชาวบ้าน ย่อมทำให้ชาวบ้านและสังคมโดยรวม
สามารถต่อรองกับรัฐและกลุ่มทุนได้ดีขึ้นมากและถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
น้อยลงมาก สังคมหรือประชาชนจึงควรร่วมกันผลักดันในเรื่องนี้อย่างจริงจังและ
กว้างขวาง
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนอาจทำได้ด้วยการหาทางให้
เกิดเครือข่ายหรือแนวร่วมที่รวมเอาคนหลายชนชั้นหรือหลายกลุ่มเข้ามาร่วมมือ
กันในการผลักดันนโยบายที่ทุกชนชั้นหรือทุกกลุ่มได้ประโยชน์ร่วมกัน ดังที่
เกษียร เตชะพีระ ยกตัวอย่างเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ “1) รัฐสวัสดิการ เพื่อ
ชนชั้นกลางระดับล่าง... 2) สังคมประชาธิปไตย เพื่อพลังแรงงาน... 3) นิเวศ
ประชาธรรม เพื่อคนชั้นกลางที่ห่วงเรื่องสภาพแวดล้อม” โดยอรรถาธิบายว่า
“นโยบายรัฐสวัสดิการ เพื่อวางหลักประกันพื้นฐานให้คนไทยที่เกิด
ในเมืองไทยมีชีวิตที่ไม่ต่ำไปกว่านี้ ให้คนที่จนที่สุด แย่ที่สุด มีศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์... ถ้าคนไทยมีศักดิ์ศรีนี้เป็นพื้นฐาน มีหลักประกัน
สวัสดิการเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะตกงาน กำพร้า หรือล้มเหลวมาจากตลาด
เสรี ฟองสบู่แตก...
เรื่องต่อมา สังคมประชาธิปไตย เป็นแนวนโยบายที่เกิดขึ้นหลัง
สงครามโลก ในหลายประเทศที่มีขบวนการแรงงานเข้มแข็ง มีการประกัน
สวัสดิการขั้นพื้นฐาน ประกันสิทธิในการตั้งสหภาพ ประกันสิทธิในการ
นัดหยุดงาน ซึ่งในเมืองไทยทุกวันนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ มีการไล่ออก
บรรดาคนงานที่เข้าไปร่วมตั้งสหภาพแรงงาน อันนี้เป็นประเด็นที่พี่น้อง
คนงานเดือดร้อน ทำอย่างไรจะดึงประเด็นเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
การประชุมกลุมยอยที่ 2