Page 280 - kpi17968
P. 280

269



                     2. การปฏิรูปสถาบันการปกครองส่วนท้องถิ่น



                         การกระจายอำนาจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น
                   หนทางที่สำคัญในการบรรลุหลักนิติธรรม เพราะจะทำให้ประชาชนมีสิทธิและ
                   อำนาจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันยังมีปัญหา

                   อยู่มากเนื่องจากอำนาจมักตกอยู่ในมือของเครือข่ายนายทุนที่มีอิทธิพลในท้องถิ่น
                   และมีสายสัมพันธ์กับข้าราชการและนักการเมืองระดับจังหวัดและระดับชาติ  62
                   จึงควรปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสร้างสถาบันการเมืองใหม่ๆ ใน

                   ระดับท้องถิ่นที่เอื้อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและโครงการ
                   ต่างๆ มากขึ้น และสามารถกำกับตรวจสอบนักการเมืองในองค์กรปกครอง
                   ส่วนท้องถิ่นได้อย่างสะดวกและปลอดภัยขึ้นด้วย


                         นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันยังมีปัญหาในด้าน
                   งบประมาณ กล่าวคือ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

                   ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 30(4) ที่ตราขึ้นในสมัย
                   รัฐบาลชวน หลีกภัย กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กร
                   ปกครองส่วนท้องถิ่นในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ของรัฐทั้งหมด
                   ในปี พ.ศ.2544 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของรายได้ของรัฐทั้งหมดภายในปี

                   พ.ศ.2549  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ต้องการจะนำ
                             63
                   งบประมาณแผ่นดินมาบริหารจัดการในรูปของโครงการต่างๆ (เช่น กองทุน

                   หมู่บ้าน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้คนชนบทเห็นว่าชีวิตของตนดีขึ้น
                   เพราะความช่วยเหลือที่ได้รับจากผู้นำพรรคการเมือง มิใช่เป็นสิทธิอันชอบธรรม
                   ของคนในท้องถิ่นที่จะได้รับงบประมาณจากรัฐ) จึงเกิดการตราพระราชบัญญัติ

                   กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                   พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 30(4) ที่กำหนดให้



                      62   แคเธอรีน เบาว์วี (เขียน), พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ (แปล), “การซื้อเสียงและความ
                   เดือดดาลของหมู่บ้านในการเลือกตั้งที่ภาคเหนือของไทย: การปฏิรูปกฎหมายในบริบททาง
                   ประวัติศาสตร์” ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง: วาทกรรม
                   อำนาจ และพลวัตชนบทไทย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2555, หน้า 125-191.
                      63   ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก, พ.ศ.2542, หน้า 63.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285