Page 285 - kpi17968
P. 285

274




               ประชาชนมิให้ถูกละเมิดโดยผู้กุมอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร

               นิติบัญญัติ หรือตุลาการ ซึ่งการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองดังกล่าวนี้อาจ
               ทำได้ด้วยการใช้ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นเครื่องมือเพื่อสร้าง
               ศักยภาพในการคิดและการถกเถียงแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง รวมทั้ง

               การค้นหาและสร้างความเห็นพ้องต้องกันในระบบคุณค่าใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการยึด
               หลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตย การตัดสินใจเรื่องต่างๆ บนฐานของความรู้
               และพร้อมที่จะแสวงหาวิธีคิดหรือมุมมองใหม่ๆ เพื่อเข้าใจความซับซ้อนของ

               ปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สามารถกำกับดูแลกระบวนการตรา
               กฎหมายและใช้กฎหมายให้ดำเนินไปโดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
               แต่ให้เกิดกฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายที่มีความทันสมัยมากพอที่จะ

               อำนวยความยุติธรรมและความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในยุคโลกาภิวัตน์

                     นอกจากนี้ระบบการศึกษาควรเสริมสร้างวัฒนธรรมทางความคิดที่ผู้คนมอง

               ตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือเป็นปัจเจกชนที่มีจิตสาธารณะและ
               เป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น (active citizen) โดยมีความเข้าใจในสายสัมพันธ์
               อันสลับซับซ้อนของคนจากทุกภาคส่วนที่เผชิญชะตากรรมร่วมกัน เช่น ถ้าหาก

               ชาวบ้านมีรายได้น้อย นายทุนก็ขายสินค้าได้น้อย โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโลก
               ประสบปัญหา นายทุนก็จำเป็นต้องทำให้ตลาดภายในเข้มแข็งขึ้น ปัญหาอื่นๆ เช่น
               สิ่งแวดล้อม การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ล้วนแต่เป็นความทุกข์ร่วมของคนใน

               สังคม แม้แต่สุขภาพจิตที่เป็นปัญหาจากความตึงเครียดในชีวิตก็อาจนำไปสู่การ
               ทำร้ายผู้คนในสังคมได้ ดังนั้นจึงควรร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโดยอาศัยวัฒนธรรม
               การเมืองแบบประชาธิปไตยที่ดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการสร้างกลุ่มระดับต่างๆ

               ที่ดึงดูดคนเข้ามาร่วมมือกันแทนการปล่อยให้ผู้คนสัมพันธ์กันในฐานะปัจเจกชน
               แท้ๆ จะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมโดยเคารพในสิทธิ
               และเสรีภาพของซึ่งกันและกัน เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบหรือการวิพากษ์

               วิจารณ์กันฉันมิตรที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน และลดโอกาสที่จะ
               เกิดอำนาจเผด็จการที่จะใช้อำนาจรัฐโดยขัดแย้งกับหลักนิติธรรม


                     อนึ่ง เนื่องจากความชอบธรรมทางการเมืองควรวางอยู่บนหลักการ
               ประชาธิปไตยมากกว่าศีลธรรม เพราะคนมักมีทัศนะเรื่องศีลธรรมไม่ตรงกัน






                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290