Page 282 - kpi17968
P. 282
271
กลุ่มประชาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่ที่เสนอแนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง”
โดยชำนาญ จันทร์เรือง ได้รับเลือกจากกลุ่ม “เชียงใหม่จัดการตนเอง” ให้เป็น
ประธานในการเขียน “ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่
มหานคร พ.ศ. …” ขึ้นเพื่อเสนอให้สังคมได้พิจารณา อภิชาต สถิตนิรามัย ชี้ให้
เห็นว่าผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในแนวทางดังกล่าวนี้ว่า
“...มันจะลดอำนาจรัฐส่วนกลางลง เมื่อลดอำนาจส่วนกลาง...นักการเมือง...
หมายถึงผู้เล่น (การเมือง) นอกระบบด้วย มันจะมีโอกาสที่จะมายึดรัฐได้น้อยลง
เพราะเรากระจายไปอยู่ที่ท้องถิ่น กระจายนโยบายไปให้ท้องถิ่น...ในแง่นี้จะช่วย
ให้การผูกขาดทางการเมืองมันน้อยลง ข้อดีของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นคือ
มันทำให้ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะให้ท้องถิ่นเป็นอิสระมากขึ้น
สร้างองค์กรผู้นำท้องถิ่นมากขึ้น...” ทั้งนี้ การกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่มีความ
66
เป็นไปได้สูงเพราะมีเสียงเรียกร้องต้องการจากทุกฝ่าย เว้นแต่กระทรวงมหาดไทย
ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในปัจจุบัน 67
นักเศรษฐศาสตร์อีกคนหนึ่งคือ นวลน้อย ตรีรัตน์ มีความเห็นว่า “ท้องถิ่น
ไทยเปลี่ยนไปมากหลังจากที่เกิดการกระจายอำนาจ อันนี้เราต้องให้เครดิตเลย
หลายเรื่องที่บทบาทท้องถิ่นเปลี่ยนไป...ซึ่งคนไม่ค่อยพูดเรื่องนี้ มักจะพูดนโยบาย
ประชานิยมสมัยคุณทักษิณสร้างสิ่งเหล่านี้...” และนวลน้อย ตรีรัตน์ ยังเน้นว่า
งบประมาณที่ท้องถิ่นได้รับจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูงขึ้นในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย
ทำให้ท้องถิ่นเปลี่ยนไป “เมื่อก่อนมีสัดส่วนไม่ถึง 10 % ของรายได้รวมของ
รัฐบาล กลายเป็น 20-25%...ทำให้ท้องถิ่นเปลี่ยนรูปไป” ซึ่งการกระจายอำนาจ
เช่นนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน และสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการ
empowerment ภาคประชาชน
68
ในกระบวนการกระจายอำนาจ (decentralization) จำเป็นต้องเสริมสร้างพลัง
(empowerment) ของประชาชนทั้งในฐานะปัจเจกชนและในฐานะกลุ่มให้มากขึ้น
66 เรื่องเดียวกัน
67 เรื่องเดียวกัน, หน้า 125.
68 นวลน้อย ตรีรัตน์, “เศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้นโยบายประชานิยม” ใน แสงสว่าง
กลางอุโมงค์: หลากหลายความคิดวิเคราะห์อนาคตสังคมการ, (อ้างแล้ว), หน้า 101.
การประชุมกลุมยอยที่ 2